ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ก๊า
ก๊า
Amomum maximum Roxb. (Syn. Amomum dealbatum Roxb.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Zigiberaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Amomum maximum Roxb. (Syn. Amomum dealbatum Roxb.)
 
  ชื่อไทย ก๊า
 
  ชื่อท้องถิ่น ล่ะก่อย่าน(เมี่ยน), กุ๊ก(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุก ลำต้นแข็ง สูง 1-2 เมตร มีเหง้าใต้ดิน อายุหลายปี หัวสีขาวอมเหลือง รสเผ็ดขื่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 40-50 ซม. แผ่นใบเรียบเป็นมันวาว มีกาบใบห่อม้วนกันเป็นลำต้น ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็นช่อออกที่โคนลำต้น มีกลีบเลี้ยงซ้อนกันอัดแน่น สีเขียวปนน้ำตาล กลีบดอกย่อยสีขาวเป็นหลอด พองเป็นกระเปาะ และปากเปิด ส่วนปากกลีบดอกที่เปิดมีแถบสีเหลือง 1 แถบตรงกลาง ผลกลมเกลี้ยง ขนาดเล็ก เมื่อแก่ผลจะแห้งและแข็ง
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้, ดอก รับประทานสดกับน้ำพริก(เมี่ยน)
ดอกหรือหน่ออ่อน ใช้รับประทานเป็นผักจิ้ม ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ พบมากในป่าดิบชื้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นได้ดีในที่มีความชื้นสูง ริมลำธาร ชอบดินร่วนซุย ไม่มีน้ำท่วมขัง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง