ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้าน
Sauropus androgynus (L.) Merr.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauropus androgynus (L.) Merr.
 
  ชื่อไทย ผักหวานบ้าน
 
  ชื่อท้องถิ่น - ตาเชเค๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) - ผักหวาน (ทั่วไป); ก้านตง, จ๊าผักหวาน (เหนือ); โถหลุ่ยกะนีเต๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน); นานาเซียม (มลายู – สตูล); ผักหวานใต้ใบ (สตูล); มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์) [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม หรือ พืชล้มลุก ที่มีโคนต้นค่อนข้างแข็ง, สูง 0.5 – 2 (-3) ม; ลำต้นอ่อน, กลม หรือ เป็นเหลี่ยม, เกลี้ยง; กิ่งอ่อนหักงอไปมาเป็นรูปซิกแซกเล็กน้อย.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปไข่หรือรูปหอก, กว้าง 1.3 – 3 ซม., ยาว 2.5 – 11 ซม.; ปลายใบแหลมหรือมน, ขอบใบเรียบ, โคนใบแหลม หรือมน; เส้นแขนงใบมีข้างละ 5 – 7 เส้น, โค้งเล็กน้อย, ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน; เมื่อทำให้แห้งจะมีสีเขียวอมเหลือง; ก้านใบสั้น,ประมาณ 2 – 4 มม.; หูใบรูสามเหลี่ยม, ยาว 1.7 – 3 มม.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน, บางทีเกิดบนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 4 – 5 มม., ดอกรูปจาน, กลีบรองกลีบดอกสีเหลือง หรือมีจุด ๆ สีแดง, ดอกบานกว้างประมาณ 5 – 12 มม., ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย หรือแยกเป็นกลีบ 6 กลีบ, ปลายกลีบกลม หรือตัดตรง; เกสรผู้มี 3 อัน, ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ๆ ปลายแยกออกจากกัน; ฐานดอกมีต่อม 6 ต่อม. ดอกเพศเมีย ก้านดอกยาวถึง 8 มม., กลีบรองกลีบดอกสีเหลืองหรือสีแดงเข้ม, ยาว 5 – 7 มม., แยกเป็น 6 กลีบ, กลีบรูปไข่ หรือค่อนข้างกลม, ปลายกลีบแหลมสั้นๆ ; รังไข่รูปไข่, ภายในมี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนช่องละ 2 หน่วย, ท่อรับไข่ 3 อัน, สั้น, แต่ละอันปลายแยกเป็นสองและม้วน.
ผล รูปกลมแป้น, สีขาวอมชมพู, เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 – 18 มม., ยาว 10 – 13 มม., กลีบรองกลีบดอกมีขนาดโตขึ้นเมื่อเป็นผล. เมล็ด รูปสามเหลี่ยม, กว้างประมาณ 5 มม., ยาว 8 มม., สีออกดำ. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปไข่หรือรูปหอก, กว้าง 1.3 – 3 ซม., ยาว 2.5 – 11 ซม.; ปลายใบแหลมหรือมน, ขอบใบเรียบ, โคนใบแหลม หรือมน; เส้นแขนงใบมีข้างละ 5 – 7 เส้น, โค้งเล็กน้อย, ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน; เมื่อทำให้แห้งจะมีสีเขียวอมเหลือง; ก้านใบสั้น,ประมาณ 2 – 4 มม.; หูใบรูสามเหลี่ยม, ยาว 1.7 – 3 มม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน, บางทีเกิดบนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 4 – 5 มม., ดอกรูปจาน, กลีบรองกลีบดอกสีเหลือง หรือมีจุด ๆ สีแดง, ดอกบานกว้างประมาณ 5 – 12 มม., ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย หรือแยกเป็นกลีบ 6 กลีบ, ปลายกลีบกลม หรือตัดตรง; เกสรผู้มี 3 อัน, ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ๆ ปลายแยกออกจากกัน; ฐานดอกมีต่อม 6 ต่อม. ดอกเพศเมีย ก้านดอกยาวถึง 8 มม., กลีบรองกลีบดอกสีเหลืองหรือสีแดงเข้ม, ยาว 5 – 7 มม., แยกเป็น 6 กลีบ, กลีบรูปไข่ หรือค่อนข้างกลม, ปลายกลีบแหลมสั้นๆ ; รังไข่รูปไข่, ภายในมี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนช่องละ 2 หน่วย, ท่อรับไข่ 3 อัน, สั้น, แต่ละอันปลายแยกเป็นสองและม้วน.
 
  ผล ผล รูปกลมแป้น, สีขาวอมชมพู, เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 – 18 มม., ยาว 10 – 13 มม., กลีบรองกลีบดอกมีขนาดโตขึ้นเมื่อเป็นผล. เมล็ด รูปสามเหลี่ยม, กว้างประมาณ 5 มม., ยาว 8 มม., สีออกดำ. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่นแกง(ปะหล่อง)
ใบอ่อนและยอด ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ราก น้ำต้มรากกินเป็นยาลดไข้และปัสสาวะขัด .
ต้น และ ใบ น้ำยางต้นและยางใบ, ใช้หยอดตาแก้อักเสบ ; นำมาตำเป็นยาพอกผสมกับรากและ cinnamon, รักษาแผลในจมูก, ถ้าผสมกับ arsenic ใช้ทาแก้โรคผิวหนังที่ติดเชื้อ spirochete ชนิดหนึ่งได้ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ในธรรมชาติพบขึ้นตามป่าผลัดใบทั่วไป ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง