ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา หนอนตายหยาก
หนอนตายหยาก
Stemona tuberosa Lour.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Stemonaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona tuberosa Lour.
 
  ชื่อไทย หนอนตายหยาก
 
  ชื่อท้องถิ่น - ป้งสามสิบ(คนเมือง) - ปงมดง่าม (เชียงใหม่) หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน) กะเพียด (ประจวบคีรีขันธ์, ราชบุรี) [11]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถาเลื้อย อายุหลายปี ยาวได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีผิวเกลี้ยง มีรากโตคล้ายหัวสีขาวอมเหลืองถึงสีเหลืองหรือดำ ยาว 15-20 ซม. ออกเป็นกระจุก
ใบ เดี่ยว เรียงแบบเวียนสลับบริเวณใกล้โคนต้น และเรียงเป็นคู่ตรงกันข้ามตามบริเวณกลางต้นหรือยอด ก้านใบยาว 1.5-7.0 ซม. ไม่มีหูใบและกาบใบ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 3-14 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งมนและเว้าแบบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบเนื้อใบย่น เส้นใบเรียงขนานออกจากโคนใบไปทางปลายใบ 9-13 เส้น ดอก สมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะจำนวนดอกย่อย 2-6 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2-8 ซม. มีใบประดับยาว 0.5-1.5 ซม. ก้านดอกยาว 0.5-3.0 ซม. กลีบรวม 4 กลีบ เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปแถบยาวปลายแหลม ขนาดกว้าง 0.4-1.0 ซม. ยาว 2.5-4.0 ซม. กลีบชั้นนอกสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเส้นสีเขียวแก่หรือม่วงเป็นลายประ ชั้นในสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมแดง มีลายเส้นประสีแดง เกสรเพศผู้ 4 อันยาว 2.5-4.0 ซม. ก้านเกสรสั้น อับเรณูสีม่วงยาว 0.8-1.5 ซม. ปลายมีจะงอยยาว 5-12 มม. รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ไม่มีก้านเกสร
ผล เป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ขนาดกว้าง 1.5-3.0 ซม. ยาว 4-7 ซม. เมื่อแห้งแตกได้เป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ด 10-20 เมล็ด เมล็ดยาว 1.0-1.7 ซม. มีปลายเรียวแหลมยาวประมาณ 4 มม. มีก้านเมล็ดยาวประมาณ 8 มม. มีเยื่อหุ้มที่โคนเมล็ด [11]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงแบบเวียนสลับบริเวณใกล้โคนต้น และเรียงเป็นคู่ตรงกันข้ามตามบริเวณกลางต้นหรือยอด ก้านใบยาว 1.5-7.0 ซม. ไม่มีหูใบและกาบใบ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง ขนาดกว้าง 3-14 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งมนและเว้าแบบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบเนื้อใบย่น เส้นใบเรียงขนานออกจากโคนใบไปทางปลายใบ 9-13 เส้น ดอก สมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะจำนวนดอกย่อย 2-6
 
  ดอก ดอก ก้านช่อดอกยาว 2-8 ซม. มีใบประดับยาว 0.5-1.5 ซม. ก้านดอกยาว 0.5-3.0 ซม. กลีบรวม 4 กลีบ เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปแถบยาวปลายแหลม ขนาดกว้าง 0.4-1.0 ซม. ยาว 2.5-4.0 ซม. กลีบชั้นนอกสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเส้นสีเขียวแก่หรือม่วงเป็นลายประ ชั้นในสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมแดง มีลายเส้นประสีแดง เกสรเพศผู้ 4 อันยาว 2.5-4.0 ซม. ก้านเกสรสั้น อับเรณูสีม่วงยาว 0.8-1.5 ซม. ปลายมีจะงอยยาว 5-12 มม. รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ไม่มีก้านเกสร
 
  ผล ผล เป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ขนาดกว้าง 1.5-3.0 ซม. ยาว 4-7 ซม. เมื่อแห้งแตกได้เป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ด 10-20 เมล็ด เมล็ดยาว 1.0-1.7 ซม. มีปลายเรียวแหลมยาวประมาณ 4 มม. มีก้านเมล็ดยาวประมาณ 8 มม. มีเยื่อหุ้มที่โคนเมล็ด [11]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ราก ใช้ฝนคลุกข้าวหรือมะพร้าวแล้วใช้โรยให้มดกิน เป็นยาฆ่ามด(คนเมือง)
- ใบ ใช้ยัดปากไหปลาร้าป้องกันหนอน(คนเมือง)
- ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าใช้รากหรือทั้งต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ปัสสาวะติดขัด หรือทั้งดื่มและอาบแก้โรคโปลิโอ
ใช้หัวสับละเอียดผสมกับมะพร้าวที่ขูดแล้ว ให้มดง่ามกินทำให้ตายเพื่อขจัดมดง่ามได้ ตำผสมน้ำเป็นยาพอกหรือเอาน้ำทาฆ่าหิด สระผสมขจัดเหาหรือใช้เป็นยากำจัดหนอนและแมลงศัตรูพืช ต้มกับยาฉุนทำเป็นยารมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป ปรุงเป็นยาน้ำอมแก้ปวดฟัน ดื่มแก้โรคผิวหนัง ผื่นคันตามร่างกายฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายในและแก้น้ำเหลืองเสีย
ใบใช้ตำและอมแก้ปวดฟัน ผสมน้ำเป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืชและเหา ทั้งต้นใช้ขจัดพยาธิตัวกลม [11]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[11] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ Botany of month,
 
ภาพนิ่ง