ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา รางจืด
รางจืด
Thunbergia laurifolia Lindl.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Acanthaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Lindl.
 
  ชื่อไทย รางจืด
 
  ชื่อท้องถิ่น แย่ถามไห่(เมี่ยน), น้ำแน่,หนามแหน่(คนเมือง), ไทเผะโพเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), จอลอดิ๊กเดอพอกวา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), รางจืด(คนเมือง), จอละดิ๊กเดอ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ด่อกะฝ้าญะ(ปะหล่อง), เครือหนำแน่(ไทลื้อ), หางฉาง(ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ที่มักพบอยู่ตามชายป่าดิบ ชอบอาศัยพันเกาะเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ มีเถาแข็งแรงมาก ลักษณะของเถานั้นจะกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียว
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันขึ้นไปตั้งแต่ขนาดใหญ่ คือตรงโคนก้านไปหาขนาดเล็กคือ ปลายก้าน ใบเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยง ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ใบจะมีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ตรงปลายดอกก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีครามดอกที่ยังอ่อน หรือยังไม่บานอยู่นั้น จะมีกาบห่อหุ้มอยู่ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกนั้นเป็นสีขาวมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4 อัน จะผลิดอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ผล พอดอกนั้นร่วงโรยไป ก็จะติดเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นผักตรงปลายฝักแหลม คล้ายกับปากนก ส่วนโคนนั้นกลมยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อผลแก่ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก [1]
 
  ใบ ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันขึ้นไปตั้งแต่ขนาดใหญ่ คือตรงโคนก้านไปหาขนาดเล็กคือ ปลายก้าน ใบเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยง ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ใบจะมีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ตรงปลายดอกก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีครามดอกที่ยังอ่อน หรือยังไม่บานอยู่นั้น จะมีกาบห่อหุ้มอยู่ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกนั้นเป็นสีขาวมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4 อัน จะผลิดอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
 
  ผล ผล พอดอกนั้นร่วงโรยไป ก็จะติดเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นผักตรงปลายฝักแหลม คล้ายกับปากนก ส่วนโคนนั้นกลมยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อผลแก่ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก [1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- ดอกที่เอาเกสรออกแล้ว รับประทานได้โดยนำไปทอดหรือ ผัดน้ำมัน(เมี่ยน)
ดอก ประกอบอาหารโดยการแกง(คนเมือง)
ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ปะหล่อง)
ดอก ลวกหรือรับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง,ปะหล่อง)
- เครือสด มีความเหนียวใช้มัดสิ่งของแทนเชือก หรือใช้รัด เหนือแผลงูกัดป้องกันพิษงูแพร่กระจาย(คนเมือง)
- เครือ ใช้รัดแผลงูกัด ช่วยทำให้แผลไม่บวม(เมี่ยน)
เครือ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน หรือใช้แก้พิษ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง หรือสารเคมี(คนเมือง)
เครือ ใช้เคี้ยวกิน แก้อาการเมาค้าง(ขมุ)
เครือ ตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณเครือ ลนไฟแล้วนำมาเป่าลมใส่หูรักษาอาการหูอื้อหรือใช้รัดเหนือบาดแผลงูกัดป้องกันพิษแพร่กระจาย(ไทลื้อ)
เครือ ต้มอาบสำหรับเด็กที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ไม่สบาย(ปะหล่อง)
ใบ นำมาทุบแล้วแช่น้ำ ให้เด็กอ่อนอาบแก้ไข้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบและลำต้น ขยี้ใส่แผลแก้อาการแมลงสัตว์กัดต่อย ทั้งต้มอาบ แก้อาการตัวบวม(กะเหรี่ยงแดง)
ใบ ใช้ต้มกับใบเตยแล้วเอาน้ำดื่มรักษาอาการที่เกิดอาหาร เป็นพิษ เถา ตากแห้งแล้วใช้ฝนใส่บาดแผลร่วมกับพญายอ ช่วยให้แผลหายเร็ว(คนเมือง)
ใบ นำมาตากแห้ง ใช้ชงดื่มแทนชา, เครือ ตำแล้วคั้นเอาน้ำ หรือนำไปตากแห้งแล้วนำมาต้ม ดื่มเป็นยาถอนพิษ และรักษาโรคกระเพาะ(คนเมือง)
- เครือ นำไปห้อยคอสุนัขที่ถูกงูกัด เชื่อว่าจะช่วยแก้พิษงู(กะเหรี่ยงแดง)
- ราก แก้อักเสบ แก้ปวดบวม ราก เถา และใบ ถอนพิษเบื่อเมา แก้เมาค้าง แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ปวดหู แก้ปวดบวม แก้ไข้ ใบ ถอนพิษทั้งปวง [5]
ทั้งต้นจะมีรสเย็นใช้ถอนพิษยาเบื่อเมา หรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และพิษทั้งปวง รากและเถา ใช้กินเป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำรักษาพิษร้อนทั้งปวง [1]
- ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ใบกินสด ตำพอก ต้มน้ำราดแผลที่ถูกสัตว์มีพิษ เช่น งู ผึ้ง ต่อ แตน มด ตะขาบ กัดต่อย [11]"
 
  อ้างอิง "เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[11] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า."
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง