ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ต้างหลวง
ต้างหลวง
Trevesia palmata (Roxb ex Lindl.) Vis.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Araliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Trevesia palmata (Roxb ex Lindl.) Vis.
 
  ชื่อไทย ต้างหลวง
 
  ชื่อท้องถิ่น ต้างหลวง(คนเมือง), ต้าง(คนเมือง,ลั้วะ,ไทลื้อ), กิลอส่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หมอกต้าง(ไทใหญ่), โช่วฟิม(เมี่ยน), ลำต้าง,แผละเคาะ(ลั้วะ) มะกะเวี้ย(ปะหล่อง), เป่าจ๊าง(ม้ง), เกะลอซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), จิ๊อูเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ตั้งเป๊อะ(ขมุ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้างหลวงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แต่อาจสูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น กิ่งก้าน และเส้นใบมีหนามแหลมปกคลุม ใบเดี่ยวออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายยอด รูปโล่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ปลายยอด รูปร่างกลมรี ติดกันเป็นกระจุกกลม กระจุกละ 30-50 ดอก ช่อหนึ่งมีหลายกระจุก สีเหลืองอมเขียว ผลมีเนื้อ รูปกรวยคว่ำ มีสามพู เมล็ดแบน
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ช่อดอกตูม ยอดอ่อน และผล ลวกกินกับน้ำพริกหรือแกง ใส่ขนุน ถั่วแปบ หรือใส่แกงแค(คนเมือง,ลั้วะ)
ช่อดอกอ่อน นำไปแกง(คนเมือง,ลั้วะ)
ช่อดอกและยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ขมุ,ม้ง)
ดอกและยอด แกงใส่ข้าวคั่ว(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน ลวกกินจิ้มน้ำพริก(ไทลื้อ)
ดอกอ่อนหรือผลอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก(เมี่ยน)
ดอกและยอดอ่อน มักใช้เป็นส่วนประกอบในแกง เช่น แกงแกนในของลำต้นเต่าร้าง (ปะหล่อง)
ช่อดอก ใบอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงใส่ข้าวคั่ว(กะเหรี่ยงแดง)
- ยอดอ่อน ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มแก้ ไอ (ไทใหญ่)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในป่าดิบที่ปลอดจากไฟป่า หรือตามหุบเขาที่มีความชุ่มชื้น
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง