ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ขี้ครอก
ขี้ครอก
Urena lobata L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Malvaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Urena lobata L.
 
  ชื่อไทย ขี้ครอก
 
  ชื่อท้องถิ่น - ทอมทัก(ลั้วะ) - หญ้าผมยุ่ง, หญ้าอียู, ขี้คาก (ภาคเหนือ,พายัพ), ซัวโบ๋เท้า (จีน), เส้ง, ปูลู (ภาคใต้), ขี้ครอก (ภาคกลาง), ขี้หมู (นครราชสีมา), ปอเสง (ปัตตานี), ขมงดง (สุโขทัย) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 1 ม. ตามกิ่งมีขนรูปดาว
ใบ เดี่ยว เรียงสลับใบที่อยู่บริเวณโคนต้นค่อนข้างกลม กว้าง 5-6 ซม. ยาว 4-5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกตื้นๆ 3 แฉก โคนใบกลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบบริเวณกึ่งกลางต้นรูปไข่ กว้าง 3-6.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. ใบที่อยู่ใกล้ยอดรูปกลมยาวถึงรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบด้านบน มีขนนุ่ม ด้านล่างมีขนรูปดาว
สีขาวอมเทา ก้าบใบยาว 1-4 ซม. มีขนรูปดาวสีขาวอมเทา หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาวประมาณ 2 มม. ร่วงง่าย
ดอก สีชมพู ออกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-3 ดอกตามง่ามใบ เมื่อบานกว้าง 1.5 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. มีขน ริ้วประดับติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยก 5 แฉก ยาวประมาณ 6 มม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก สั้นกว่าริ้วประดับทั้งริ้วประดับและกลีบเลี้ยงมีขนรูปดาว กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5 ซม. ด้านนอกมีขนรูปดาว เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 15 มม. เกลี้ยง อับเรณูจำนวนมากติดรอบหลอด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียเรียวเล็ก ยาวพ้นหลอดเกสรเพศผู้ ปลายแยก 10 แขนง มีขนแข็งประปราย
ผล แบบผลแห้งแยกแล้วแตก รูปกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีหนามหัวลูกศร แก่ จัดแยก 4 ซีก แต่ละซีกมี 1 เมล็ด [8]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับใบที่อยู่บริเวณโคนต้นค่อนข้างกลม กว้าง 5-6 ซม. ยาว 4-5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกตื้นๆ 3 แฉก โคนใบกลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบบริเวณกึ่งกลางต้นรูปไข่ กว้าง 3-6.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. ใบที่อยู่ใกล้ยอดรูปกลมยาวถึงรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบด้านบน มีขนนุ่ม ด้านล่างมีขนรูปดาว
สีขาวอมเทา ก้าบใบยาว 1-4 ซม. มีขนรูปดาวสีขาวอมเทา หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาวประมาณ 2 มม. ร่วงง่าย
 
  ดอก ดอก สีชมพู ออกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-3 ดอกตามง่ามใบ เมื่อบานกว้าง 1.5 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. มีขน ริ้วประดับติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยก 5 แฉก ยาวประมาณ 6 มม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก สั้นกว่าริ้วประดับทั้งริ้วประดับและกลีบเลี้ยงมีขนรูปดาว กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5 ซม. ด้านนอกมีขนรูปดาว เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 15 มม. เกลี้ยง อับเรณูจำนวนมากติดรอบหลอด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียเรียวเล็ก ยาวพ้นหลอดเกสรเพศผู้ ปลายแยก 10 แขนง มีขนแข็งประปราย
 
  ผล ผล แบบผลแห้งแยกแล้วแตก รูปกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีหนามหัวลูกศร แก่ จัดแยก 4 ซีก แต่ละซีกมี 1 เมล็ด [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น ใช้ทำไม้กวาด(ลั้วะ)
- ราก เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้พอกแก้โรคปวดข้อ เป็นยาเย็นถอนพิษไข้ทั้งปวง ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้พิษน้ำเหลืองเสีย ใบ ต้มน้ำจิบแก้ไอ ดับพิษเสมหะ เมล็ด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราได้ดีมาก [8]
- ต้นและใบใช้ต้มรับประทาน เป็นยารักษาโรคไตพิการ และยังเป็นยาชวยขับปัสสาวะด้วย
ใบ ใช้ต้มเป็นยาจิบรักษาอาการไอ ดับพิษเสมหะ
ราก ใช้รับประทานเป็นยาเย็นใช้ถอนพิษไข้ทั้งปวง [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง