ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ชะมวง
ชะมวง
Garcinia cowa Roxb. ex Choisy (Syn. Garcinia cowa Roxb. ex DC.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Clusiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy (Syn. Garcinia cowa Roxb. ex DC.)
 
  ชื่อไทย ชะมวง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ส้มป้อง(คนเมือง), มะป่อง(คนเมือง) - ส้มมวง (ภาคใต้), ชะมวง (ไทยกลางและตะวันออก) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีขนาดย่อยจนถึงขนาดกลาง
ใบ จะมีลักษณะแข็งและยาวหนา คล้ายกับใบมะดัน
ดอก ดอกนั้นเล็ก กลีบดอกจะแข็งเช่นมะดันสีนวลเหลือง และมีกลิ่นหอม ดอกจะดกมาก ใหญ่ประมาณ 10-15 มม. [1]
 
  ใบ ใบ จะมีลักษณะแข็งและยาวหนา คล้ายกับใบมะดัน
 
  ดอก ดอก ดอกนั้นเล็ก กลีบดอกจะแข็งเช่นมะดันสีนวลเหลือง และมีกลิ่นหอม ดอกจะดกมาก ใหญ่ประมาณ 10-15 มม. [1]
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล รับประทานได้, ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ผล สุกสีเหลือง รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน มียาง(คนเมือง)
- ใบและดอก ใช้เป็นยาระบายท้อง รักษาโรคไข้กัดฟอกเสมหะ รักษาธาตุพิการ นอกจากนี้ผลและใบอ่อนยังใช้ปรุงเป็นอาหารกิน จะมีรสเปรี้ยวคล้ายมะดัน ถ้ากินมากๆจะทำให้ท้องระบายคล้ายดอกขี้เหล็ก [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ กระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำทั่วไป พบมากในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูง 800 เมตรขึ้นไป เหนือระดับทะเล
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง