ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ซ้อ
ซ้อ
Gmelina arborea Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lamiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gmelina arborea Roxb.
 
  ชื่อไทย ซ้อ
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำซ้อ(ลั้วะ), ไม้ซ้อ(ไทใหญ่), ซ้อ(คนเมือง), ไม้เส้า(ปะหล่อง), ต๊ะจู้งก้ง(เมี่ยน), ตุ๊ดจะหระ(ขมุ), ลำชิล้า(ลั้วะ), ไม้ซ้อ(ไทลื้อ), ซึงโฉว้(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 20 ม.
 
  ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับฉาก รูปไข่ ยาว 7-20 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มกว้าง แผ่ออกคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีนวลและมีขนสั้นนุ่ม เส้นแขนงใบ 3-5 คู่ ออกจากโคน 1 คู่ ก้านใบยาว 3-10 ซม เป็นร่องด้านบน
 
  ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ออกตามปลายกิ่ง มี 1 หรือหลายช่อ ยาว 7-15 ซม. ใบประดับหลุดร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 0.3-0.4 ซม. ปลายกลีบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ด้านนอกมีขน ติดทน กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง รูปปากแตรโป่งด้านเดียว ยาว 2-4 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบบน 2 กลีบ กลีบล่าง 3 กลีบ ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีสีน้ำตาลแดง ด้านในหลอดกลีบสีครีมอ่อนๆ กลีบปากล่างกลีบกลางด้านในมีสีเหลืองแซม มีขนสั้นนุ่มด้านนอก ด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน ยื่นไม่พ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้ติดบนหลอดกลีบดอกตรงประมาณกึ่งกลาง รังไข่เกลี้ยง มีต่อม ยอดเกสรเพศเมียมี 2 แฉกไม่เท่ากัน
 
  ผล ผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง สุกสีเหลือง รูปไข่หรือรูปไข่ ยาว 1.5-2 ซม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ดอก ใส่กับข้าวแป้งทำขนมห่อ(ไทใหญ่)
ผล นำเอาไปบีบน้ำใส่ข้าวจี่ทำให้มีรสหวาน
ผลสุก บีบเอาน้ำผสมกับข้าวเหนียวนึ่งแล้วนำมาหมกไฟรับประทานได้(ไทลื้อ)
- เปลือกต้น ทุบแล้วบีบเอาน้ำใส่แผลที่เกิดจากน้ำกัดเท้า ใช้ได้ผลดีมาก(เมี่ยน)
เปลือกต้น ขูดเปลือกต้นเป็นฝอยๆแล้วบีบน้ำใส่แผลที่เกิดจากน้ำกัดเท้าหรือผื่นคัน(ลั้วะ)
เปลือก นำมาต้ม ตำพอกแก้อาการคันตามง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า(ไทใหญ่)
- เนื้อไม้ ใช้ทำไหนึ่งข้าว ครก กลอง เพราะทนทาน ไม่แตกง่าย(ปะหล่อง)
เนื้อไม้ ใช้เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน และไม้กระดาน(คนเมือง)
เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น วงกบประตูหรือหน้าต่าง(ม้ง)
เนื้อไม้ ใช้ทำไหนึ่งข้าว(คนเมือง,ม้ง,ขมุ,เมี่ยน)
เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ,ปะหล่อง,ขมุ)
เนื้อไม้ ใช้ทำไหนึ่งข้าวหรือไหนึ่งเมี่ยง(คนเมือง)
เนื้อไม้ ใช้ทำครก ไหนึ่งข้าว(ลั้วะ)
- เนื้อไม้ ใช้ทำสะพานเพื่อประกอบพิธีตานขัว (เชื่อว่าทำแล้วจะหาเงินทองได้มากขึ้น)(เมี่ยน)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำกลอง ฆ้อง(ลั้วะ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%AB%E9%CD
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง