ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ก่อเดือย
ก่อเดือย
Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Fagaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Castanopsis acuminatissima (Blume) A.DC.
 
  ชื่อไทย ก่อเดือย
 
  ชื่อท้องถิ่น เส่โพร่ปริ๊(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ก่อเดือย, ก่อแม๊ด(ไทใหญ่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ก่อเดือยเป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกแตกเป็นร่องหรือเป็นสะเก็ดตามยาว ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักห่างๆ ดอกเป็นช่อดอกตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมรวมอยู่บนช่อผล กาบหุ้มผลปกคลุมด้วยหนามสั้นและแข็ง จะแตกเมื่อผลแก่จัด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล นำไปคั่ว รับประทานเนื้อข้างในได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เนื้อในเมล็ด รับประทานได้(ไทใหญ่)
- เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ทำโครงสร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น ฝาบ้าน เสาบ้าน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ พบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,400 เมตร
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง