|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Tea plant
|
Tea plant
Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (Mast.) Kitam. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Theaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (Mast.) Kitam. |
|
|
ชื่อไทย |
เมี่ยง, ชา |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
นอมื่อ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ชา, เมี่ยง(คนเมือง), เมี่ยง(ลั้วะ), ลาบ่อ(อาข่า) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เมี่ยงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งก้านแตกออกด้านข้า ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบหนา ด้านบนใบมัน ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุม ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและออกเป็นกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง สีขาว ผลทรงกลม ผิวเรียบ มี 3 พู ข้างในมีหลายเมล็ด |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ นำมาประกอบอาหาร เช่นยำ หรือตากแห้ง นำมาชงดื่มเป็นน้ำชา(คนเมือง)
ใบ นึ่งแล้วใช้ห่อเกลือ เคี้ยวกินเล่น(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบ ตากแห้ง แล้วนำมาชงน้ำดื่ม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ ขยี้แล้วบีบน้ำใส่แผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบอ่อน หมักเมี่ยงขาย(คนเมือง)
ยอดอ่อน เก็บผลผลิตเพื่อขาย(คนเมือง)
- ใบสด เคี้ยวพอกบริเวณไฟลวกและเหยียบตะปู
ใบแห้ง ชงใส่น้ำตาล รักษาปวดท้อง (อาข่า)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นตามพื้นที่สูงโดยเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ความลาดชันพอสมควร มีอินทรียวัตถุในดินสูง ระบายน้ำได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|