ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ราชาวดีป่า
ราชาวดีป่า
Buddleja asiatica Lour.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Scrophulariaceae (Buddlejaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Buddleja asiatica Lour.
 
  ชื่อไทย ราชาวดีป่า
 
  ชื่อท้องถิ่น สะด้าโซ่(ปะหล่อง), ปิ๋นเป๋ย(เมี่ยน), เพาะจี่แบล(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ปิ๋นเป๋ย(เมี่ยน), ลำก๊วก(ลั้วะ), ปั้งเฉ่า(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 1 – 2 เมตร
ใบ จะมีความกว้างประมาณ 3 ซม. และยาวประมาณ 13 ซม. ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปหอก ขอบใบเรียบ หรือเป็นหยักเล็กน้อย ตรงปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะสอบแคบ ด้านล่างจะมีขน
ดอก จะออกเป็นช่อ ตรงยอดและตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะหนาแน่นและมีขน กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงปลายนั้นจะแยกเป็น 4 กลีบเป็นสีขาว ด้านนอกนั้นจะมีขน หรือเกลี้ยง มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน จะติดอยู่ภายในท่อดอก ก้านเกสรจะสั้น และมีอับเรณูเป็นรูปไข่ ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน ภายในจะมีอยู่ 2 ช่อง
ผล ผลแห้งจะไม่มีเนื้อ มีลักษณะเป็นรูปรี มีความยาวประมาณ 6 มม. ภายในจะมีเมล็ด[1]
 
  ใบ ใบ จะมีความกว้างประมาณ 3 ซม. และยาวประมาณ 13 ซม. ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปหอก ขอบใบเรียบ หรือเป็นหยักเล็กน้อย ตรงปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะสอบแคบ ด้านล่างจะมีขน
 
  ดอก ดอก จะออกเป็นช่อ ตรงยอดและตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะหนาแน่นและมีขน กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงปลายนั้นจะแยกเป็น 4 กลีบเป็นสีขาว ด้านนอกนั้นจะมีขน หรือเกลี้ยง มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน จะติดอยู่ภายในท่อดอก ก้านเกสรจะสั้น และมีอับเรณูเป็นรูปไข่ ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน ภายในจะมีอยู่ 2 ช่อง
 
  ผล ผล ผลแห้งจะไม่มีเนื้อ มีลักษณะเป็นรูปรี มีความยาวประมาณ 6 มม. ภายในจะมีเมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ทั้งต้น เป็นส่วนประกอบในยาต้มให้สตรีหลังคลอดอาบเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว (ยาต้มประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น หนาด, ไพล, อูนป่า และเปล้าหลวง)(ปะหล่อง)
ใบและกิ่งก้าน ต้มน้ำอาบรักษาอาการตัวบวม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ลำต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาคุมกำเนิด (ใช้ได้ทั้งสำหรับผู้หญิงและ ผู้ชาย)(ม้ง)
ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง(เมี่ยน)
ทั้งต้น ทุบผสมปูนขาวหรือปูนแดงแล้วใช้พอกแผลที่มีหนอน เพื่อฆ่าหนอน(ปะหล่อง)
- ดอก ใช้เป็นดอกไม้สำหรับไปวัด(ลั้วะ)
ดอก ใช้ไหว้ผีในเทศกาลตรุษจีน(เมี่ยน)
- ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง และเป็นยาทำให้แท้ง[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบทั่วไปในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง