|
วงศ์ |
Leguminosae (Papilionaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Erythrina subumbrans (Hassk.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
ทองหลางป่า ทองหลาง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ไม้ตองหนาม(ไทใหญ่), ไม้ตองน้ำ(ไทใหญ่), เก๊าตอง(คนเมือง), ยาเซาะห่ะ(อาข่า) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น ไม้ยืนต้น สูง 20 ม. กิ่งและก้านใบมีหนาม ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมสามเหี่ยมแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 6-14 ซม. ยาว 8-16 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยตำนวนมาก กลีบดอกสีแดงเข้ม รูปดอกถั่ว ผล ฝักโค้ง ตอนโคนแบน ไม่มีเมล็ด ตอนปลายหนา แบ่งเป็นห้องๆ มี 1-5 เมล็ด |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
"- ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริกหรือใส่ในแกง(ไทใหญ่)
ใบอ่อน รับประทานสดหรือใส่ในแกง(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน ใช้ใส่แกงหน่อหรือแกงขนุน(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำรั้ว เพราะมีหนาม(ไทใหญ่)"
-(ใบ) ตำพอกฝี (เปลือก) ต้มดื่มเป็นส่วนผสมของยารักษาวัณโรค (อาข่า) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/mdpdetails.asp?id=512 |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|