ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Ginger
Ginger
Zingiber officinale Roscoe
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Zingiberaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe
 
  ชื่อไทย ขิง
 
  ชื่อท้องถิ่น ซุง (เมี่ยน), แปร่คุ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ขิง(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน (rhizome) ส่วนเหนือดินสูงประมาณ 40-100 ซม. เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียม (pseudostem) ขึ้นเป็นกอ ประกอบ ด้วยกาบหรือโคนก้านใบ (sheathing petiole) หุ้มซ้อนกัน
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงกันสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 105-2 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบสอบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบและเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก
ดอก ช่อสีขาว แทงขึ้นมาจากเหง้า (scapose) ชูก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-25 ซม. ดอกย่อยมีกลีบรองดอกสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับกลีบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน เมื่อบานขยายอ้าให้เห็นดอก กลีบดอกสีเหลืองเขียว ปลายกลีบสีม่วงแดง และกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงง่าย โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออก เกสรตัวผู้มี 6 อัน เกสรตัวผู้ที่ฝ่อ (sterile) มีสีม่วงแดงจุดเหลือง ลักษณะคล้ายลิ้น ปลายกลีบกลมมนสั้นกว่ากลีบดอกเกสรตัวเมีย 1 รังไข่ 3 ช่อง (locule)
ผล มี 3 พู กลม แข็ง ใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1ซม. มีหลายเมล็ดสีดำ [3]
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงกันสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 105-2 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบสอบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบและเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก
 
  ดอก ดอก ช่อสีขาว แทงขึ้นมาจากเหง้า (scapose) ชูก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-25 ซม. ดอกย่อยมีกลีบรองดอกสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับกลีบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน เมื่อบานขยายอ้าให้เห็นดอก กลีบดอกสีเหลืองเขียว ปลายกลีบสีม่วงแดง และกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงง่าย โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออก เกสรตัวผู้มี 6 อัน เกสรตัวผู้ที่ฝ่อ (sterile) มีสีม่วงแดงจุดเหลือง ลักษณะคล้ายลิ้น ปลายกลีบกลมมนสั้นกว่ากลีบดอกเกสรตัวเมีย 1 รังไข่ 3 ช่อง (locule)
ผล มี 3 พู กลม แข็ง ใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1ซม. มีหลายเมล็ดสีดำ [3]
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เหง้า รับประทานสดและใช้เป็นส่วนประกอบอาหารต่างๆ เช่น น้ำพริก แกง(คนเมือง)
เหง้า เป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทต่างๆ และเป็นเครื่องเทศ(เมี่ยน)
- เหง้า ใช้ทาแผลยุงกัดหรือทุบแล้วนำไปหมกไฟห่อด้วยผ้าแล้ว นำมาพันคอ แก้ไอ และร้อนใน(เมี่ยน)
หัวใต้ดิน ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องอืด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- สรรพคุณความเชื่อ
เหง้าขิงแห้งหรือสด ประมาณ 5 กรัม (เท่าหัวแม่มือ) ต้มน้ำดื่ม รสหวานฝาด แก้ลมเสียด แทงแน่นหน้าอก แก้นอนไม่หลับ คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้จับสั่น
ราก รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น แก้ศอเสมหะ เจริญอาหาร แก้ลม เสมหะ บิด บำรุงเนื้อ หนังสดชื่น บำรุงเสียงให้ไพเราะ ช่วยให้หลอดคอโปร่ง ฆ่าพยาธิมีตัว เจริญอาหาร แก้พรรดึก บิดตกเป็นโลหิตดุจสีขมิ้น นิ่ว ไอ
เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด ขับลม เป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่น รสอาหาร และเครื่องดื่ม แก้อาเจียน ไอหอบ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ รักษาบิด รักษาพิษจากปั้วแห่ (Pinellia pedatisecta Schott) และเทียงหน่ำแช่ (Arisaema conesanguineum Schott) ปู ปลา นกและเนื้อสัตว์ที่มีพิษ
เปลือกเหง้าแห้ง ประมาณ 1.5-5 กรัม ต้มน้ำดื่มรสฉุน ขับลม ขับปัสสาวะ แก้อาการท้องอืดแน่น บวมน้ำ ทารักษากลากเกลื้อน แผลมีหนอง
ต้น รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ ลมป่วง แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วงอย่างแรง บิด อาเจียน คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงธาตุไฟ รักษานิว รักษาโรคตา
ใบ รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ นิ่ว ปัสสาวะขัด โรคตา ฆ่าพยาธิ ขับผายลม ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ รักษากำเดา รักษาโรคตา
ดอก รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ปัสสาวะขัด บำรุงธาตุไฟ รักษานิ่ว คอเปื่อย บิด ไข้ ฆ่าพยาธิ
ผล รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
เหง้าขิงสดและแห้ง เป็นเครื่องแต่งสี กลิ่น รส อาหาร ดับกลิ่นคาวอาหารที่มีคุณค่าสูง
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง