|
วงศ์ |
EUPHORBIACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Jatropha gossypifolia L. |
|
|
ชื่อไทย |
สบู่แดง ละหุ่งแดง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะหุ่งแดง สลอดดง สีลอด สบู่เลือด |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านจากโคนต้น ลำต้นและกิ่งมีขนสีทองปกคลุมหนาแน่น ทุกส่วนของต้นมียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปฝ่ามือ ขอบใบเว้าลึก 3-5 แฉก ใบอ่อนสีแดงอมม่วง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมแดง ก้านสีแดง ช่อดอกเชิงลดหลั่นออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีแดงเข้ม ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แต่ละช่อย่อยมีดอกตัวเมีย 1 ดอก ที่เหลือเป็นดอกตัวผู้ ผลค่อนข้างกลม มี 3 พู เมื่อแก่แตกได้ มี 3 เมล็ด |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชสมุนไพร ใช้ใบต้มน้ำอาบบรรเทาอาการปวดเมื่อย ใช้ก้านใบลนไฟ เป่าเข้าในหูจะช่วยรักษาอาการหูอื้อ |
|
|
อ้างอิง |
อัปสรและคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง บ้านโป่งคำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบได้ทั่วไป ชอบอากาศแห้ง กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|