ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะเม่าสาย
มะเม่าสาย
Antidesma sootepense Craib
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Phyllanthaceae (Euphorbiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma sootepense Craib
 
  ชื่อไทย มะเม่าสาย
 
  ชื่อท้องถิ่น - ไม้เม่า(คนเมือง), มะเม้าสาย(คนเมือง), มะเม่า(คนเมือง), หล่ายก้ง(เมี่ยน) - เซม่าโม๊ะ (ม้ง-เชียงใหม่) เม่ากำปั่ง (เชียงใหม่) บ่าเม่า มะเม่าสาย (เชียงใหม่) มะเม่าดูก เม่าสาย มูกกอง (ลำปาง) ตะไคร้น้ำ (สระบุรี) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ คล้ายเม่าสร้อยหรือเม่าไข่ปลาแต่แตกต่างสังเกตได้ดังนี้ กิ่งก้านสีน้ำตาลอมแดง
ใบ มีก้านใบ ยาว 0.2-0.4 ซม. แผ่นใบรูปหอกปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นใบข้างโค้ง 6-7 คู่
ดอก แยกเพศ ดอกเพศผู้ ออกจากปลายกิ่งยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดประมาณ 0.5 มม. ชั้นกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดประมาณ 0.5 มม. ชั้นกลีบเลี้ยง 3 พู เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดที่หมอนรองดอกซึ่งมีต่อมเอมติดกันเป็นรูปถ้วย ช่อดอกเพศเมียไม่แตกแขนง ยาวได้ถึง 7 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น ยาวไม่ถึง 1 มม. กลีบเลี้ยงประมาณ 0.8 มม. ต่อมหมอนรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วย ค่อนข้างเรียบและเกลี้ยง ปลายเกสรเพศเมียอยู่ตรงกลา
ผล ผิวเรียบ ไม่มีขน [8]
 
  ใบ ใบ มีก้านใบ ยาว 0.2-0.4 ซม. แผ่นใบรูปหอกปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม เส้นใบข้างโค้ง 6-7 คู่
 
  ดอก ดอก แยกเพศ ดอกเพศผู้ ออกจากปลายกิ่งยาวได้ถึง 10 ซม. ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดประมาณ 0.5 มม. ชั้นกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดประมาณ 0.5 มม. ชั้นกลีบเลี้ยง 3 พู เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดที่หมอนรองดอกซึ่งมีต่อมเอมติดกันเป็นรูปถ้วย ช่อดอกเพศเมียไม่แตกแขนง ยาวได้ถึง 7 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น ยาวไม่ถึง 1 มม. กลีบเลี้ยงประมาณ 0.8 มม. ต่อมหมอนรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วย ค่อนข้างเรียบและเกลี้ยง ปลายเกสรเพศเมียอยู่ตรงกลา
 
  ผล ผล ผิวเรียบ ไม่มีขน
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน เป็นส่วนประกอบในแกงหน่อไม้ แกงเห็ดถอบ, ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว หรือนำไปดอง(คนเมือง)
ยอดอ่อน มีรสเปรี้ยว นำไปใส่แกง เช่น แกงเห็ดถอบ, ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว(เมี่ยน)
- ราก นำไปต้มในน้ำรวมกับข้าวสาร (ข้าวเจ้า)3-7 เมล็ด แล้วนำน้ำมาดื่มรักษาอาการปัสสาวะขัด(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบในป่าผลัดใบและป่าดิบทั่วไป เป็นไม้ระดับกลาง ชอบแสงแดดปานกลาง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง