ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักขมหัด
ผักขมหัด
Amaranthus gracilis Desf
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ AMARANTHACEAE
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Amaranthus gracilis Desf
 
  ชื่อไทย ผักขมหัด
 
  ชื่อท้องถิ่น ผักโขมหัด (กลาง), ผักหม (ใต้), กะเหม่อลอมี, แม่ล้อคู่ (กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน) ,ปะตี(เขมร)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นตรง สูง 10-35 ซม. แตกกิ่งก้านน้อยใกล้โคนต้น มีขนหนาแน่น
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปไข่กลับแกมวงรีกว้าง 0.3-1 ซม.ยาว 1-3 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเรียวปลายสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบจักโค้งมนหรือกึ่งฟันเลื่อย ท้องใบเกลี้ยง
 
  ดอก ดอกช่อกระจะออกที่ซอกใบ และปลายยอด ดอกย่อย 2-10 ดอก มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปหอกแคบ กลีบดอกสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนแยกเป็น 2 พูรูปโล่ ปากล่างแยกเป็น 3 พู
 
  ผล เป็นฝักแห้ง แตกได้ รูปกระสวย
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ ราก แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ มักจะใช้เป็นยาสมุนไพร่วมกับผักขมหิน
ใบ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับน้ำนม เป็นยาพอกแผลที่ขา
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
นันทวัน บุญยะประภัศร , 2541. สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (3). บริษัทประชาชน จำกัด, กรุงเทพฯ .
 
  สภาพนิเวศ ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง