ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb บทความ “หม่อน” พืชสารพัดประโยชน์
“หม่อน” พืชสารพัดประโยชน์
Create Date : 2012-05-18 Download เอกสาร (160)
หม่อน (Morus spp.) เป็นพืชอาหารที่วิเศษสุดสำหรับหนอนไหม (Bombyx mori) ถึงแม้จะมีพืชชนิดอื่นที่ใช้ทดแทนหม่อนได้ เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแล้วจะสู่หม่อนไม่ได้เลย ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น จะสามารถสร้างไหมพันธุ์ใหม่ๆที่สามารถกินแอปเปิ้ล,กะหล่ำปลี ฯลฯ ได้ แต่ก็ยังไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นอันว่า อุตสาหกรรมผลิตไหมทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่และในครัวเรือน ยังคงต้องปลูกหม่อนไว้สำหรับเลี้ยงไหม หลังจากเกิดสภาวะราคารังไหมในประเทศไทยตกต่ำ เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ผมเริ่มมองหา การใช้ประโยชน์จากต้นหม่อนและรังไหมในด้านต่างๆ แต่ในฐานะที่รับผิดชอบงานวิจัยด้านหม่อน จึงให้ความสนใจหม่อนเป็นพิเศษ ถึงแม้จะมีเอกสารวิชาการทางด้านนี้น้อยแต่ก็พอทราบว่า มีการนำส่วนต่างๆของหม่อนไปใช้ประโยชน์ทางด้านเภสัชกรรม ประเทศจีนมีการนำ ราก ใบ และผลของหม่อนมาสกัดเป็นยารักษาโรค นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย พบว่าผลหม่อนมีสาร sterols (steroid alcohol) อยู่มาก เราคงได้ยินคำว่า steroids (สเตียรอย) บ่อยๆโดยเฉพาะในช่วงที่มีการแข่งขันกีฬา ไม่ว่าจะเป็น ซีเกมส์,เอเชียนเกมส์ หรือโอลิมปิกเกมส์ เพราะสารนี้สามารถใช้เป็นยากระตุ้นหรือยาโด๊ปได้ชนิดหนึ่งนั้นเอง ดังนั้นในการแข่งกีฬาจะต้องมีการสุ่มตรวจสาร steroids ด้วยถ้าพบมากเกนกว่าค่ามาตรฐาน ที่กำหนดก็จะถูกริบเหรียญรางวัล ดังเช่น เบน จอห์นสัน นักวิ่งลมกรดชาวแคนนาดาโดนปรับให้แพ้ในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้เมื่อ 5 ปีก่อนมาแล้ว จากการสอบถามเภสัชกรบางท่าน กล่าวว่าสารนี้จะมีฮอร์โมนอยู่หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ท่านลองคิดดูก็แล้วกัน ขนาดหนอนไหมตัวเล็กนิดเดียวกินใบหม่อนอย่างเดียวแต่เล็กจนโต พอสุกทำรัง สามารถชักใยได้ยาวเป็นกิโล โดยไม่ยอมหยุดพักคล้ายกับนักวิ่งมาราธอน รู้อย่างนี้หัดกินใบหม่อนเสียตั้งนานแล้ว แม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีการผลิตยารักษาโรคจากต้นหม่อนอย่างเป็นทางการก็จริงเมื่อปี 2535 ได้พบว่าอาซิ้มอายุราว 60 ปี ย่านสี่กั๊กพระยาศรี ความจริงพบต้นหม่อนที่ปลูกไว้หน้าบ้านแกก่อน จึงสงสัยว่าปลูกหม่อนไว้ทำอะไร ได้ความว่าปลูกไว้ทำยาโดยใช้ยอดหม่อนต้มแล้วนำน้ำต้มยอดหม่อนดังกล่าวมาดื่มและล้างตา เพราะเชื่อว่าจะช่วยบำรุงสายตา จึงเป็นเรื่องที่น่าชวนคิดอย่างยิ่งว่าเป็นไปได้หรือไม่ เนื่องจากในกรุงเทพฯ นั้น พื้นที่ว่างอันมีค่านำมาปลูกหม่อนไว้ดูเล่นคงจะยากประกอบกับเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 ครั้งไปสำรวจดินที่สถานีทดลองหม่อนไหมเลย ได้อ่านวารสารสาวสยาม ของแม่บ้านคุณควง คำดี ข้าราชการสถานีฯ ฉบับเดือนเมษายน 2534 ในคอลัมน์ “ของฝากจากบ้านนอก” โดยแม่แช่ม มีการกล่าวถึงประโยชน์จากต้นหม่อนว่า “กิ่งหม่อน”ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก รักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง กลิ่นฉุน อันเกิดจากความร้อนภายใน ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร ขจัดอาการหมักหมม ในกระเพาะ สำไส้และแสลดในปอดตำราสมุนไพรจีนอีกหลายเล่ม กล่าวถึงสรรพคุณอีกมากมายของหม่อน เช่น กิ่งหม่อนใช้รักษาโรคเจ็บปวด มือเท้าเป็นตะคริว เหน็บชาและโรคดังกล่าวข้างต้น ก็ให้ใช้โคนต้นหม่อนเก่าๆยิ่งเก่ายิ่งดี มาตัดเป็นท่อนผึ่งไว้ให้แห้งนำมาต้มดื่ม หรือต้มกับข้าวเจ้าเป็นโจ๊ก ก็สามารถขจัดโรคดังกล่าวได้ ไม่แน่นะครับอีกหน่อยอาจจะมีโจ๊กหม่อน...โจ๊กสมุนไพร...ก็เป็นได้ “ผลหม่อน” นอกจากใช้รับประทานผลสดเมื่อสุกได้แล้ว ยังใช้ทำน้ำผลไม้ ไวน์ และมีสรรพคุณตามตำราเภสัชศาสตร์ของจีน คือ รักษาโรคท้องผูก บำรุงโลหิต ขจัดลม บำรุงไต บำรุงสายตา ทำให้ดวงตาสว่าง (ข้อนี้ตรงกับอาซิ้มบอกผมไว้เลย) มีประโยชน์ต่อข้อ กระดูก รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ดกดำ (หลายท่านที่กำลังอ่านอยู่นี้ ควรเริ่มทานผลหม่อนได้แล้วครับ)แก้พิษสุรา (แต่คงทำให้เลิกสุราไม่ได้นะครับ เลี่ยวฮียัง นักแพทยศาสตร์ สมัยราชวังศ์เหม็ง กล่าวถึงผลหม่อนว่า “ผลหม่อนมีรสหวานเย็น ขจัดความร้อน บำรุงโลหิต มีคุณต่อธาตุตัวเมีย (ตามข้อวินิจฉัยของแพทย์จีนนั้นหากธาตุตัวเมียในร่างกายไม่เพียงพอก็จะทำให้เลือดลมในกระดูกไม่ผ่าน โลหิตเกิดเต็ม ถ้าพลังตัวเมียเพียงพอ เลือดลมก็จะผ่านไปได้) เพื่อขจัดความร้อนออกไปจากร่างกายได้ ธาตุตัวเมียก็จะเกิดทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย นอกจากผลหม่อนแล้ว “ใบหม่อน” ก็สามารถนำไปปรุงเป็นยาได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นชาวจีนยังนำใบหม่อนและกิ่งก้านหม่อนมาทำสบู่ได้อีกด้วย แต่ต้องขออภัยที่ไม่สามารถหารายละเอียดเกี่ยวกับการทำสบู่จากหม่อนมาให้ท่านทราบได้ หรือถ้าท่านทราบก็อย่าลืมส่งข่าวมาให้เราทราบบ้างนะครับ เมื่อเป็นเช่นนี้คาดว่าน่าจะมีสรรพคุณในการบำรุงผิว หรือรักษาโรคผิวหนังได้ แต่ที่แน่ๆ คือ สามารถนำยอดหม่อนมาใส่ต้มยำเป็ดหรือต้มยำไก่ เพิ่มความอร่อยไม่แพ้ยอดน้อยหน่าและกัญชาเลยนะครับ แถมยังไม่ผิดกฎหมายอีกด้วย “รากหม่อน” น้ำคั้นจากรากหม่อน (Morus nigra) สามารถลดการเกิดน้ำตาลในเลือดสูงนั่นคือ สามารถลดความรุนแรง และรักษาโรคเบาหวานได้ (Indian Silk,1990) เมื่อเร็ว ๆนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรากหม่อนชื่อ Moranoline ปัจจุบันสารนี้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนามของ DNJ เนื่องจาก DNJ มีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยวน้ำตาล Sucrose ให้เป็น Gluclose ได้ ซึ่งจากผลการกระทำนี้ จะช่วยต่อต้านการระบาดของ เอดส์ โดยไกลโคโปรตีน ที่ผิวของเชื้อ HIV ( Human Immunodeficiency Virus) เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์จะเก็บน้ำตาลที่ไม่จำเป็นไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนแขนเชื่อมด้านข้างของน้ำตาลจะอิ่มตัวหมดสภาพจะไปทำลายเซลล์ใหม่ได้ฟังดูก็น่าสนใจไม่น้อยใช่ไหมครับ สำหรับนักท่อนเที่ยวทั้งหลาย ท่านที่ประสงค์จะปลูกต้นหม่อน พืชสารพัดประโยชน์ ไว้ประดับบ้านและเพื่อประโยชน์ใช้สอยเล็กๆน้อยๆ ดังที่กล่าว ขอแนะนำให้ปลูกพันธุ์นครราสีมา 60 และพันธุ์บุรีรัมย์ 60 เพราะให้ผลสุกที่มีขนาดใหญ่รับประทานผลสดได้ ส่วนใบนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้ สนใจพันธุ์หม่อนเหล่านี้สามารถขอได้ที่ศูนย์วิจัยหม่อนอุดรธานีหรือศูนย์วิจัย/สถานีทดลองหม่อนไหม ทุกแห่ง บรรณานุกรม สาวสยาม เมษายน 2535. Ray, 1. 1991 Indian Silk. February.34-35. ขอขอบพระคุณที่มาข้อมูล คุณวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม กรมหม่อนไหม ที่มา : http://www.qsds.go.th
สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938