ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ตองงุม,ตะขาบเขียว
ตองงุม,ตะขาบเขียว
Pothos chinensis (Raf.) Merr.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Araceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pothos chinensis (Raf.) Merr.
 
  ชื่อไทย ตองงุม,ตะขาบเขียว
 
  ชื่อท้องถิ่น สึมิโคะ(ลั้วะ), ฮ่าเดียแงง(เมี่ยน), ไพล้น่อย, หวายดิน(ขมุ), จ่อชึมื่อ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หวายหนู(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถาล้มลุก ลำต้นเลื้อยเกาะสูงได้ประมาณ 10 ม. เป็นเหลี่ยมเล็กน้อย
 
  ใบ ใบเรียงชิดติดกันจำนวนมาก ออกในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี รูปไข่ ขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 3-21 ซม. ปลายใบตัด กลม หรือเป็นติ่ง โคนใบเรียวสอบ ก้านใบแผ่กว้างคล้ายแผ่นใบ ยาว 5-14 ซม.
 
  ดอก ยอดที่มีดอก มีใบประดับย่อยเล็กๆ และเกล็ดหุ้มยอด ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกตามซอกใบ มี 1-2 ช่อ ก้านช่อยาวได้ประมาณ 2.5 ซม. กาบรูปไข่ เว้า พับงอ ยาว 0.4-1.2 ซม. โคนเป็นรูปหัวใจหุ้มก้านช่อดอก ปลายแหลมมีติ่ง ติดทน ช่อส่วนปฏิสนธิรูปไข่รีๆ หรือกลม สีเหลืองอ่อน ยาว 0.4-1.3 ซม. ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่แบนรีเป็นเหลี่ยม
 
  ผล ช่อผลมีช่อผลย่อยหลายช่อ แต่ละช่อผลย่อยมี 1-5 ผล ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงรีหรือรูปไข่ ยาว 1-1.8 ซม. สุกสีแดงเข้ม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น ฉีกออกเป็นเส้นๆแล้วใช้มัดสิ่งของแทนเชือก(ขมุ)
- ใบและต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาหม้อ ช่วยล้างไต ขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำลัง และใช้เข้ายารักษาโรคริดสีดวง(คนเมือง)
ทั้งต้น นำไปต้มน้ำ แล้วให้ผู้หญิงดื่ม ช่วยคุมกำเนิด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ, ใบ หั่นแล้วผสมไข่ไก่นำไปตุ๋นกินแก้อาการไอ(เมี่ยน)
- ทั้งต้น ใช้แทนดอกไม้ในพิธีกรรมต่างๆ(ลั้วะ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Pothos0chinensis0%28Raf.%290Merr.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง