ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา
- Devil tree , White cheesewood - Devil tree, Devil bark, White cheese wood, Black board tree, Milkwood [8]
Alstonia scholaris (L.) R.Br.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Apocynaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R.Br.
 
  ชื่อไทย สัตบรรณ, ตีนเป็ด, สัตตบรรณ, พญาสัตบรรณ
 
  ชื่อท้องถิ่น นอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ฟั่นเท้าะเดี๋ยง(เมี่ยน), ตีนเป็ด(ลั้วะ,คนเมือง), โจ่เนเหมาะ, โจเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) ตุ๊ดทรัง(ขมุ), ลำตีนเป็ด(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง เรือนต้นสูง 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นชั้นๆ เปลือกเรียบ เกลี้ยง เปลือกชั้นนอกสีน้ำตาลหรือขาวอมเหลือง เปลือกชั้นในสีเหลืองถึงน้ำตาล สีน้ำตาลอมครีมมียางสีขาว
ใบ ออกจากแกนเดียวกัน เป็นวงคล้ายนิ้วมือ ขนาดใบกว้าง 1.5-8.0 ซม. ยาว 5-32 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน เส้นแขนงใบเห็นเด่นชัดตั้งฉาบกับเส้นกลางใบ เป็นคู่ๆ 20-40 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อ 6-7 ช่อ แตกแขนงเป็นวงที่ปลายกิ่ง โคนช่อดอกอยู่ติดกันยาว 5-15 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ดอกย่อยสมบูรณ์เพศรวมตัวเป็นกระจุกรูปทรงกลม ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นท่อปลายแยกเป็น 5 พู ยาว 1-2 มม. กลีบดอกสีขาวเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 6 10 มม. พูกลีบ 5 พู ขนาดยาว 1.7-1.5 มม. กลีบดอกสีขาวหรือเขียวอมเหลือง เกสรเพศผู้ติดกับส่วนบนขอบหลอดกลีบและยาวไม่พ้นกลีบดอก รังไข่นูนเหลือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 2 ช่อง
ผล ออกเป็นฝักยาว เป็นคู่ฝักกว้าง 0.2-0.3 มม. ยาว 20-55 มม.
เมล็ด รูปทรงกระบอก ขอบขนานปลายโค้งมน ขนาด 4.0-7.5 มม. มีขนละเอียดคลุม [8]
 
  ใบ ใบ ออกจากแกนเดียวกัน เป็นวงคล้ายนิ้วมือ ขนาดใบกว้าง 1.5-8.0 ซม. ยาว 5-32 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน เส้นแขนงใบเห็นเด่นชัดตั้งฉาบกับเส้นกลางใบ เป็นคู่ๆ 20-40 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อ 6-7 ช่อ แตกแขนงเป็นวงที่ปลายกิ่ง โคนช่อดอกอยู่ติดกันยาว 5-15 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ดอกย่อยสมบูรณ์เพศรวมตัวเป็นกระจุกรูปทรงกลม ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นท่อปลายแยกเป็น 5 พู ยาว 1-2 มม. กลีบดอกสีขาวเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 6 10 มม. พูกลีบ 5 พู ขนาดยาว 1.7-1.5 มม. กลีบดอกสีขาวหรือเขียวอมเหลือง เกสรเพศผู้ติดกับส่วนบนขอบหลอดกลีบและยาวไม่พ้นกลีบดอก รังไข่นูนเหลือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 2 ช่อง
 
  ผล ผล ออกเป็นฝักยาว เป็นคู่ฝักกว้าง 0.2-0.3 มม. ยาว 20-55 มม.
เมล็ด รูปทรงกระบอก ขอบขนานปลายโค้งมน ขนาด 4.0-7.5 มม. มีขนละเอียดคลุม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคไข้มาลาเรีย, ยาง ใส่แผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยให้แผลแห้งเร็ว(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ไอ แก้หวัด หรือต้มอาบรักษาผื่นคัน
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(เมี่ยน,ลั้วะ)
เนื้อไม้ เนื้อไม้ ใช้ทำโครง สร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน(ขมุ)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(คนเมือง)
- เปลือกต้น แก้ไข้ สมานลำไส้ แก้บิด ท้องเดินเรื้อรัง ขับพยาธิ แก้ไข้หวัด และแก้หลอดลมอักเสบ กระพี้ ขับผายลม
ใบ แก้ไข้หวัด
ดอก แก้โลหิตพิการ ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน [5]
- เปลือกต้น จะมีรสขม ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร รักษาโรคบิดท้องร่วง โรคลำไส้ และรักษาอาการไข้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำบัดโรค Malaria [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง