ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Sentul, Santol - Santol
Sentul, Santol - Santol
Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Meliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.
 
  ชื่อไทย กระท้อน
 
  ชื่อท้องถิ่น - ด่งเก้า(ม้ง), เบล่มะตี้น(ปะหล่อง), กะท้อน(คนเมือง), เฮี้ยตุ้งโดะ(เมี่ยน), มะต้อง(ขมุ) - กระท้อน (ภาคกลาง) เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มลายู-นธาธิวาส) สะโต (มลายู-ปัตตานี) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงถึง 45 ม. ลำต้นแตกเป็นร่อง บางครั้งพบมีพูพอนสูงถึง 3 ม. เปลือกสีน้ำตาลชมพูอ่อน เรียบ มีช่องอากาศ หรือเปลือกลอกออกเป็นแผ่นกลม เรือนยอดเป็นรูปโดม
ใบ ประกอบแบบมีสามใบย่อย ยาว 18-40 ซม. ก้านใบยาว 7.5-16 ซม. แบน เกลี้ยง หรือมีขนนุ่มสั้นสีเหลืองอมน้ำตาล ใบย่อยรูปไข่ ใบที่ปลายกว้าง 5-14 ซม. ยาว 8-20 ซม. ใบด้านข้างมักจะเล็กและแคบกว่า ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม ใบด้านข้างโคนค่อนข้างเบี้ยว ขอบใบเรียบหรือบางครั้งพบจักเป็นพันเลื่อย ด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนสีน้ำตาลเล็กน้อยบนเส้นกลางใบด้านบนด้านล่างค่อนข้างเกลี้ยง หรือขนนุ่มสั้นสีน้ำตาล เมื่ออ่อนสีชมพู เมื่อแห้งสีเหลือง หรือสีแดงเรื่อ เส้นใบมี 7-14 คู่ แต่ละคู่โค้งจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 4-9 มม. ส่วนใบที่ปลาย ก้านใบย่อยยาว 3-5.5 ซม.
ดอก สีเขียวอมเหลือง หรือสีค่อนข้างแดง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามง่ามใบที่ปลายๆ ยอด ยาว 6-24 ซม. ช่อตั้งตรง หรือห้อยลงเล็กน้อย แกนกลางช่อมีขนนุ่มสั้นสีเหลืองอมน้ำตาล แกนช่อดอกเล็ก ยาว 8 ซม. กางออก และมีแกนอันที่สองมีดอก 1-5 ดอก ใบประดับยาวประมาณ 7มม. รูปสามเหลี่ยม แคบ มีขนนุ่มสั้นหนาแน่น หลุดร่วงง่าย ใบประดับย่อยค่อนข้างเล็กกว่า ติดเยื้องกันเล็กน้อย ก้านดอกย่อยยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง หรือรูปถ้วยยาวประมาณ 3.5 มม. ปลายแยกเป็นพูกลม หรือมนไม่เท่ากัน 5 พู พูยาว 0.75 มม. มีขนสั้นนุ่ม ขอบมีขน สีเขียวแกมเหลือง กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปใบหอกแคบ หรือใบหอกกลับ ยาว 6-9 มม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม เมื่อบานจะโค้งพับลง ปลายกลม หรือเว้าบุ๋ม เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในมีขนยาวห่าง สีส้ม หรือสีเหลืองอ่อน ขอบจักเป็น 10 แฉก บางทีโค้งพับลง อับเรณูมี 10 อัน บางครั้งพบมี 8 อัน ยาว 1-1.5 มม. รูปขอบขนานแคบ ปลายเป็นติ่งแหลมติดเป็น 2 ระดับ ไม่โผล่พ้นท่อ จานฐานดอกยาวประมาณ 1.5 มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ขอบจักเป็นครุยรังไข่และก้านชูเกสรเพศเมียเกลี้ยง รังไข่จมลงในจานฐานดอกเล็กน้อย มี 4 หรือ 5 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นพู ยาว 1.5 มม.
ผล สด กลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 5-12 ซม. มีขนกำมะหยี่ [8]
 
  ใบ ใบ ประกอบแบบมีสามใบย่อย ยาว 18-40 ซม. ก้านใบยาว 7.5-16 ซม. แบน เกลี้ยง หรือมีขนนุ่มสั้นสีเหลืองอมน้ำตาล ใบย่อยรูปไข่ ใบที่ปลายกว้าง 5-14 ซม. ยาว 8-20 ซม. ใบด้านข้างมักจะเล็กและแคบกว่า ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม ใบด้านข้างโคนค่อนข้างเบี้ยว ขอบใบเรียบหรือบางครั้งพบจักเป็นพันเลื่อย ด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนสีน้ำตาลเล็กน้อยบนเส้นกลางใบด้านบนด้านล่างค่อนข้างเกลี้ยง หรือขนนุ่มสั้นสีน้ำตาล เมื่ออ่อนสีชมพู เมื่อแห้งสีเหลือง หรือสีแดงเรื่อ เส้นใบมี 7-14 คู่ แต่ละคู่โค้งจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 4-9 มม. ส่วนใบที่ปลาย ก้านใบย่อยยาว 3-5.5 ซม.
 
  ดอก ดอก สีเขียวอมเหลือง หรือสีค่อนข้างแดง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามง่ามใบที่ปลายๆ ยอด ยาว 6-24 ซม. ช่อตั้งตรง หรือห้อยลงเล็กน้อย แกนกลางช่อมีขนนุ่มสั้นสีเหลืองอมน้ำตาล แกนช่อดอกเล็ก ยาว 8 ซม. กางออก และมีแกนอันที่สองมีดอก 1-5 ดอก ใบประดับยาวประมาณ 7มม. รูปสามเหลี่ยม แคบ มีขนนุ่มสั้นหนาแน่น หลุดร่วงง่าย ใบประดับย่อยค่อนข้างเล็กกว่า ติดเยื้องกันเล็กน้อย ก้านดอกย่อยยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงรูประฆัง หรือรูปถ้วยยาวประมาณ 3.5 มม. ปลายแยกเป็นพูกลม หรือมนไม่เท่ากัน 5 พู พูยาว 0.75 มม. มีขนสั้นนุ่ม ขอบมีขน สีเขียวแกมเหลือง กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปใบหอกแคบ หรือใบหอกกลับ ยาว 6-9 มม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม เมื่อบานจะโค้งพับลง ปลายกลม หรือเว้าบุ๋ม เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในมีขนยาวห่าง สีส้ม หรือสีเหลืองอ่อน ขอบจักเป็น 10 แฉก บางทีโค้งพับลง อับเรณูมี 10 อัน บางครั้งพบมี 8 อัน ยาว 1-1.5 มม. รูปขอบขนานแคบ ปลายเป็นติ่งแหลมติดเป็น 2 ระดับ ไม่โผล่พ้นท่อ จานฐานดอกยาวประมาณ 1.5 มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ขอบจักเป็นครุยรังไข่และก้านชูเกสรเพศเมียเกลี้ยง รังไข่จมลงในจานฐานดอกเล็กน้อย มี 4 หรือ 5 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นพู ยาว 1.5 มม.
 
  ผล ผล สด กลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 5-12 ซม. มีขนกำมะหยี่ [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้ (ม้ง,เมี่ยน,คนเมือง,ปะหล่อง)
- ราก เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น รากมะพร้าวไฟ รากข่อย รากมะโจ้ก รากฝรั่ง รากทับทิม นำทั้งหมดมาต้มน้ำดื่ม(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ไม้กระดาน(ขมุ,ม้ง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น กระจายอยู่ทั่วไป ที่สูง 100-700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ชอบดินอุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง