ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มังตาน, ทะโล้
มังตาน, ทะโล้
Schima wallichii (DC.) Korth.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Theaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Schima wallichii (DC.) Korth.
 
  ชื่อไทย มังตาน, ทะโล้
 
  ชื่อท้องถิ่น ไม้กาย(ไทใหญ่), กรึ๊สะ, เต่อครื่อยสะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำโคระ,ลำพิโย๊วะ,ลำคิโยะ(ลั้วะ), ทะโล้(คนเมือง), ตุ๊ดตรุ(ขมุ), เส่ยือสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูงประมาณ 15-25 เมตร ขนาดวัดรอบลำต้นได้ถึง 1.5 เมตร เปลือกนอกขรุขระแลมักแตกเป็นร่องลึกตามยาว สีทาปนน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว เป็นพิษต่อผิวหนัง
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกตามปลายกิ่งสลับกันไปและมักติดเป็นกระจุกตามปลายๆกิ่ง โคนและปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือบางที่หยักตื้นๆตามขอบ หลังใบมักมีสีเขียวเข้ม ท้องใบและเส้นกลางใบมีขนขึ้นประปราย
 
  ดอก ดอก สีขาวหรือขาวนวล ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลิ่นหอม ก้านดอกยาว กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีจำนวนเท่ากันอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกล่างมักเล็กกว่ากลีบอื่น เกสรผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง เกสรเมียมีอันเดียวสั้น
 
  ผล ผลค่อนข้างกลม ผิวแข็งโตประมาณ 2.5-3 ซม. เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้มและจะแตกออกตามรอยประสาน เป็น 4-5 เสี่ยง แต่ละส่วนมีเมล็ด 4-5 เมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ต้นและราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่ว(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ไม้กระดานทำ ฝาบ้าน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ขมุ,ไทใหญ่,ลั้วะ)
- เปลือกไม้และเนื้อไม้ หากสัมผัสโดนจะเกิดอาการคัน(ไทใหญ่,ลั้วะ,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำฟืนสำหรับนึ่งเมี่ยง(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง