ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ตูมกาขาว, มะติ่ง
ตูมกาขาว, มะติ่ง
Strychnos nux-blanda A.W.Hill
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Loganiaceae (Strychnaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-blanda A.W.Hill
 
  ชื่อไทย ตูมกาขาว, มะติ่ง
 
  ชื่อท้องถิ่น - อีโท่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), มะปินป่า(ปะหล่อง), มะตึ่ง(คนเมือง) - ตูมกาขาว (ภาคกลาง) กล้อวูแซ กล้ออึ กล๊ะอึ้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขี้กา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ปลูเวียต (เขมร) มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (ภาคเหนือ) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. เปลือกต้นสีเทาอมเหลือง ไม่มีช่องอากาศ เกลี้ยง ไม่มีมือจับ ตามง่ามใบบางทีมีหนาม
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปรี รูปไข่ ค่อนข้างกว้าง หรือกลม กว้าง 2.3-12 ซม. ยาว 4.9-15 ซม. ปลายใบมน หรือเรียวแหลม ปลายสุดมักจะมีติ่งหนาม โคนใบแหลม กลม หรือเว้ารูปหัวใจเล็กน้อย มีเส้นใบตามยาว 3-5 เส้น เส้นกลางใบด้านบนแบนหรือเป็นร่องตื้นๆ ด้านล่างนูน เกลี้ยง หรือมีขนประปรายตามเส้นใบ ก้านใบยาว 5-17 มม.
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อยาว 3.5-5 ซม. มีดอกจำนวนมาก มีขน ก้านช่อยาว 1-3 ซม. ดอกสีเขียวถึงขาว ก้านดอกยาวไม่เกิน 2.5 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่แคบถึงรูปใบหอก ยาว 1.5-2.2 มม. ด้านนอกมีขนถึงเกลี้ยง ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกสีเขียวถึงขาว ยาว 9.4-13.6 มม. โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก หลอดยาวกว่าแฉก 3 เท่า ด้านนอกเกลี้ยง หรือมีตุ่มเล็กๆ ด้านในบริเวณด้านล่างของหลอดมีขนแบบขนแกะ แฉกมีตุ่มหนาแน่น หนาที่ปลายแฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้าน ติดอยู่ภายในหลอดดอก อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 มม. เกลี้ยง ปลายมนหรือมีติ่งแหลม เกสรเพศเมียยาว 8-13 มม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม
ผล กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. เปลือกหนา สาก สุกสีแดงถึงส้ม มีเมล็ด 4-15 เมล็ด รูปทรงรี ไม่สม่ำเสมอ ยาว 1.5-2.2 ซม. หนา 5-15 มม. ผิวมีขนสีอมเหลือง [8]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปรี รูปไข่ ค่อนข้างกว้าง หรือกลม กว้าง 2.3-12 ซม. ยาว 4.9-15 ซม. ปลายใบมน หรือเรียวแหลม ปลายสุดมักจะมีติ่งหนาม โคนใบแหลม กลม หรือเว้ารูปหัวใจเล็กน้อย มีเส้นใบตามยาว 3-5 เส้น เส้นกลางใบด้านบนแบนหรือเป็นร่องตื้นๆ ด้านล่างนูน เกลี้ยง หรือมีขนประปรายตามเส้นใบ ก้านใบยาว 5-17 มม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อยาว 3.5-5 ซม. มีดอกจำนวนมาก มีขน ก้านช่อยาว 1-3 ซม. ดอกสีเขียวถึงขาว ก้านดอกยาวไม่เกิน 2.5 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่แคบถึงรูปใบหอก ยาว 1.5-2.2 มม. ด้านนอกมีขนถึงเกลี้ยง ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกสีเขียวถึงขาว ยาว 9.4-13.6 มม. โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก หลอดยาวกว่าแฉก 3 เท่า ด้านนอกเกลี้ยง หรือมีตุ่มเล็กๆ ด้านในบริเวณด้านล่างของหลอดมีขนแบบขนแกะ แฉกมีตุ่มหนาแน่น หนาที่ปลายแฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้าน ติดอยู่ภายในหลอดดอก อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 มม. เกลี้ยง ปลายมนหรือมีติ่งแหลม เกสรเพศเมียยาว 8-13 มม. เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม
 
  ผล ผล กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. เปลือกหนา สาก สุกสีแดงถึงส้ม มีเมล็ด 4-15 เมล็ด รูปทรงรี ไม่สม่ำเสมอ ยาว 1.5-2.2 ซม. หนา 5-15 มม. ผิวมีขนสีอมเหลือง [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง,คนเมือง,ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแดง)
- เปลือกต้น หากถูกงูกัด จะนำมาเคี้ยวจนรู้สึกว่ามีรสขมเพื่อช่วยสลายพิษงูเบื้องต้นก่อนไปโรงพยาบาล(คนเมือง)
เปลือกต้น เคี้ยวกินกับเกลือแก้อาการปวดท้อง(กะเหรี่ยงแดง)
- เนื้อไม้ ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงประสาท แก้ไข้เชื่อมซึม [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง