ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา บวบขม
บวบขม
Trichosanthes cucumerina L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cucurbitaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes cucumerina L.
 
  ชื่อไทย บวบขม
 
  ชื่อท้องถิ่น - เล่ยเซ(เมี่ยน) - นมพิจิตร (กลาง); มะนอยจ๋า (เหนือ) [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถา, ลำต้นเป็นร่อง, มีขนประปราย; มือเกาะมี 2 – 3 แขนง.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปกลมหรือคล้ายรูปไต, กว้าง 8 – 12 ซม., ยาว 7 – 10 ซม.; โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ, ขอบใบหยักเป็นรูปซี่ฟันและมีรอยเว้าลึก, ทำให้เป็น 5 แฉก; ปลายใบแหลมหรือกลม, เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 เส้น; มีขนทั้ง 2 ด้าน, แต่ขนด้านล่างยาวกว่าด้านบน; ก้านใบเล็ก, ยาว 2 – 7 ซม., มีขน.
ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ, ยาว 6 – 16 ซม, ก้านดอกเล็กคล้ายเส้นด้าย, มีขนเล็กน้อย; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, ยาว 15 – 16 มม., กลีบยาว 1.5 มม.; กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่แกมสามเหลี่ยมยาว 7 มม., มีเส้น 3 เส้น, กลีบอยู่ชิดกัน; เกสรผู้ 3 อัน, รูปทรงกระบอก กว้าง 1.5 มม., ยาว 3 มม., ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยว ๆ, ก้านดอกยาว 3 – 12 มม., กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, รังไข่รูปยาวรี, มีขนยาวนุ่ม, ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย, ยาว 16 – 18 มม.
ผล รูปกลมยาว, หัวท้ายแหลม, กว้าง 3.5 – 4 ซม., ยาว 5 – 6 ซม., สีเขียว, มีลายสีขาวตามยาวของผล, มีขนสีแดง ทั่วผล. เมล็ด มี 8 – 10 เมล็ด, รูปขอบขนาน, ขอบเป็นคลื่น, ปลายมน, โคนสอบแคบ, กว้าง 5 – 6 มม, ยาวประมาณ 13 มม. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปกลมหรือคล้ายรูปไต, กว้าง 8 – 12 ซม., ยาว 7 – 10 ซม.; โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ, ขอบใบหยักเป็นรูปซี่ฟันและมีรอยเว้าลึก, ทำให้เป็น 5 แฉก; ปลายใบแหลมหรือกลม, เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 เส้น; มีขนทั้ง 2 ด้าน, แต่ขนด้านล่างยาวกว่าด้านบน; ก้านใบเล็ก, ยาว 2 – 7 ซม., มีขน.
 
  ดอก ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ, ยาว 6 – 16 ซม, ก้านดอกเล็กคล้ายเส้นด้าย, มีขนเล็กน้อย; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, ยาว 15 – 16 มม., กลีบยาว 1.5 มม.; กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่แกมสามเหลี่ยมยาว 7 มม., มีเส้น 3 เส้น, กลีบอยู่ชิดกัน; เกสรผู้ 3 อัน, รูปทรงกระบอก กว้าง 1.5 มม., ยาว 3 มม., ดอกเพศเมีย ออกเดี่ยว ๆ, ก้านดอกยาว 3 – 12 มม., กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, รังไข่รูปยาวรี, มีขนยาวนุ่ม, ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย, ยาว 16 – 18 มม.
 
  ผล ผล รูปกลมยาว, หัวท้ายแหลม, กว้าง 3.5 – 4 ซม., ยาว 5 – 6 ซม., สีเขียว, มีลายสีขาวตามยาวของผล, มีขนสีแดง ทั่วผล. เมล็ด มี 8 – 10 เมล็ด, รูปขอบขนาน, ขอบเป็นคลื่น, ปลายมน, โคนสอบแคบ, กว้าง 5 – 6 มม, ยาวประมาณ 13 มม. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ประกอบอาหารเช่น ใส่แกง(เมี่ยน)
- เส้นใย ใช้แทนฟองน้ำล้างจาน(เมี่ยน)
- ราก น้ำต้มราก, ขนาด 60 มล., ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง และรบกวนทางเดินอาหารมาก
ส่วนน้ำต้มราก, กินเป็นยาลดไข้และยาระบาย ; แก้ปวดหัว, หลอดลมอักเสบ .
ต้น น้ำคั้นต้น, กินเป็นยาทำให้อาเจียน;
น้ำต้มต้น, เป็นยาลดไข้, ระบาย, บำรุงหัวใจ, บำรุงร่างกาย ถ้าใช้รวมกับต้นผักชี, ต้น Gentian และน้ำผึ้ง, กินแก้การอักเสบต่าง ๆ , ฟอกเลือด, ขับระดู และใช้กับคนไข้ท่อน้ำดีอักเสบ .
ใบ น้ำต้มใบ, กินเป็นยาลดไข้, ระบาย, แต่ถ้าใช้มากจะทำให้อาเจียน .
ผล มีรสขมมาก, น้ำต้มผลและยอดอ่อน, กินเป็นยาระบาย,
ส่วนน้ำต้มผลแห้งและน้ำตาล, เป็นยาช่วยย่อย .
เมล็ด กินเป็นยาลดไข้, ขับระดู และขับพยาธิ; ใช้ได้ดีกับคนไข้ธาตุพิการ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง