ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กะพวมมะพร้าว
กะพวมมะพร้าว
Vernonia arborea var. arborea (Syn. Vernonia arborea Buch.-Ham. var. arborea)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia arborea var. arborea (Syn. Vernonia arborea Buch.-Ham. var. arborea)
 
  ชื่อไทย กะพวมมะพร้าว
 
  ชื่อท้องถิ่น หนาดจืด(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ .5 – 36 เมตร ผิวเปลือกมีสีขาว กิ่งก้านอ่อนจะมีขน หรือมีต่อม
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากันหรือมน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ใต้ท้องใบมีต่อมเป็นจุด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 – 4 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 – 10.5 นิ้ว และก้านใบยาวประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกเป็นกระจุก กลีบดอกมีสีขาว ชมพู หรือม่วง ยาวราว 5 – 7 มม. โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบจะหยักเป็น 5 แฉก ในท่อดอกสีเกสรตัวเมียแยกเป็นแฉก
ผล ผลเป็นรูปกึ่งสามเหลี่ยม มีสันเห็นได้ชัด ผิวเปลือกมีขนนุ่มหรือเกลี้ยง ผลมีขนาดยาวประมาณ 2 – 3.5 มม. รยางค์เป็นสีขาวหม่น ๆ มักเรียงกันเป็นวง 2 วง วงในจะยาวกว่าวงนอก ยาวประมาณ 5 – 7 มม.[1]
 
  ใบ ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากันหรือมน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ใต้ท้องใบมีต่อมเป็นจุด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 – 4 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 – 10.5 นิ้ว และก้านใบยาวประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกเป็นกระจุก กลีบดอกมีสีขาว ชมพู หรือม่วง ยาวราว 5 – 7 มม. โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบจะหยักเป็น 5 แฉก ในท่อดอกสีเกสรตัวเมียแยกเป็นแฉก
 
  ผล ผล ผลเป็นรูปกึ่งสามเหลี่ยม มีสันเห็นได้ชัด ผิวเปลือกมีขนนุ่มหรือเกลี้ยง ผลมีขนาดยาวประมาณ 2 – 3.5 มม. รยางค์เป็นสีขาวหม่น ๆ มักเรียงกันเป็นวง 2 วง วงในจะยาวกว่าวงนอก ยาวประมาณ 5 – 7 มม.[1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น นำไปต้มรวมกับปูเลย เถารางจืด กิ่งเปล้าน้อย ใช้ เป็นยาห่มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟ หรือนำมาฝนกับ น้ำดื่มเป็นยาแก้อาการผิดเดือน(คนเมือง)
- ใบ ใช้เป็นยาชง มีฤทธิ์เป็นยาช่วยย่อยและเป็นยากระตุ้น[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง