ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ขี้กาแดง
ขี้กาแดง
Gymnopetalum integrifolium (Roxb.) Kurz
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cucurbitaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnopetalum integrifolium (Roxb.) Kurz
 
  ชื่อไทย ขี้กาแดง
 
  ชื่อท้องถิ่น ขี้กา(คนเมือง), สะโดซะ,กะโดซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับสิ่งยึดเกาะที่อยู่ใกล้ๆ เถา มีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียนและมีหนวดที่โคนก้านใบ ใบรูปไข่เกือบกลม 5 เหลี่ยม ขนาดประมาณ 10x15 ซม. ปลายแหลม โคนเว้าเป็นติ่งหู ขอบหยักบิดเป็นคลื่น แผ่นใบผิวหยาบสากเป็นลอนตามรอยกดเป็นร่องของเส้นใบ หลังใบมีขนสั้นสีขาวจำนวนมาก ก้านใบสีเขียวอ่อนแกมเหลืองยาว มีขนชนิดเดียวกัน
 
  ดอก ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศกัน เกิดที่ซอกใบ ดอกสีขาวกลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 - 5 กลีบ ดอกเพศเมียที่ฐานดอกมีรังไข่ทรงกลม ดอกเพศผู้ไม่มี
 
  ผล ผล ทรงกลม ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว มีริ้วสีขาวจางๆ เมื่อแก่สีส้มแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด ทรงกลมรีแบนมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเมือกใสสีเขียวเข้มเกือบดำ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เครือ ต้มน้ำอาบ แก้อาการคัน หรือสำหรับเด็กที่ร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ แข็งแรง(คนเมือง)
เครือ ต้มน้ำดื่มรักษาฌรคริดสีดวงทวาร, ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ, ผล กินแก้อาการท้องผูก แต่หากรับประทานมากๆ จะทำให้ ท้องร่วงจนเป็นอันตรายได้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
ลักษณะ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/resource/60-herb/123-gymnopetalum
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง