ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา แป๊ะตำปึง
แป๊ะตำปึง
Gynura procumbens (Lour.) Merr. (Syn. Gynura sarmentosa (Blume) DC.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura procumbens (Lour.) Merr. (Syn. Gynura sarmentosa (Blume) DC.)
 
  ชื่อไทย แป๊ะตำปึง
 
  ชื่อท้องถิ่น ว่านกอบ(คนเมือง), แป๊ะตำปึง(ไทลื้อ), ใบเบก(คนเมือง), ชั่วจ่อ(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ แป๊ะตำปึงเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดตามพื้นดิน อวบน้ำทั้งต้น และมียางใส สูง 0.5-0.8 เมตร กิ่งก้านสาขามาก
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอก ขอบใบจักห่าง ปลายเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ผิวใบหนามัน เนื้อใบขรุขระ
 
  ดอก ช่อดอกแยกแขนง ช่อยาว ชูตั้งขึ้น ออกตามซอกใบและปลายยอด ช่อย่อยกระจุกแน่น ใบประดับมีสีเขียวรูปทรงกระบอกหุ้ม กลีบดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง ก้านชูเกสรเพศเมียยาว แยกเป็น 2 แฉก มีลักษณะเป็นฝอยชูทั่วช่อดอกกระจุก
 
  ผล ผลแห้ง เมล็ดล่อน
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อนและใบ รับประทานสดกับลาบ(ไทลื้อ,คนเมือง)
- ใบ รับประทานสดกับลาบมีสรรพคุณแก้โรคความดันสูง(คนเมือง)
ยอดอ่อน เป็นส่วนผสมในการต้มไก่กระดูกดำเพื่อรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย
ยอดอ่อนและใบอ่อน รับประทานเป็นประจำ ช่วยรักษาหรือป้องกันมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งมดลูก(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง