ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะเดื่ออุทุมพร
มะเดื่ออุทุมพร
Ficus racemosa L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Moraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa L.
 
  ชื่อไทย มะเดื่ออุทุมพร
 
  ชื่อท้องถิ่น - โค่ยโต้น(ลั้วะ), บะเดื่อ(คนเมือง) - กูแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เดื่อเกลี้ยง (ภาคกลาง ภาคเหนือ) เดื่อน้ำ (ภาคใต้) มะเดื่อ (ลำปาง) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงถึง 30 ม. มีพูพอน บางครั้งพบผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมชมพู เรียบเมื่อแก่แตกเป็นรอยหยาบ กิ่งและ fig สีขาว มียางมีครีม หูใบยาวประมาณ 12 มม. มักติดแน่นในกิ่งอ่อน
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี ไปจนถึงรูปไข่กลับ รูปขอบขนานสั้น หรือรูปใบหอก กว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 6-19 ซม. ปลายค่อนข้างแหลม หรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ หรือสอบกว้าง บางทีพบเป็นรูปหัวใจ ขอบเรียบ ในต้นกล้าขอบจักเป็นซี่ฟัน เนื้อค่อนข้างหนาคล้ายหนัง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อนเส้นใบมี 4-8 คู่ มีเส้นระหว่างเส้นใบถึง 7 เส้น เห็นชัดด้านล่าง มีเส้นออกจากโคนใบสั้น มักมีต่อมตามง่ามเส้นใบ ก้านใบยาว 15-70 มม. เป็นสีน้ำตาลและหยัก ดอก อยู่ในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายผลที่เรียกว่า ผลแบบมะเดื่อ (fig หรือ syconium) ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นผล fig เกิดจากฐานดอกที่บวมพองขึ้น ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับอยู่ ภายใน fig นี้มีดอก 3 ประเภทคือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหด fig นี้มีส่วนมากเกิดเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น บนกิ่งที่ไม่มีใบและกิ่งใหญ่ๆ ยาวถึง 25 ซม. เมื่อแก่สีแดงอมส้ม มีก้านใหญ่ยาว 3-12 มม. ที่โคนมีใบประดับยาว 1-2 มม. รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ปลายมน fig รูปค่อนข้างกลม ถึงรูปผลแพร์ กว้าง 20-30 มม. (เมื่อสด กว้าง 35-50 มม.) มักมีช่องอากาศแกมตุ่ม กลีบรวมมี 3(-4) พู สีแดง เกลี้ยง ช่องเปิดจะค่อนข้างจม มีใบประดับปิดอยู่ 5-6 ใบ ไม่มีขนแข็ง ดอกเพศผู้ ไม่มีก้าน เกสรเพศผู้มี (1-)2 อัน บางครั้งพบ 3 อัน มักมีรังไข่ที่เป็นหมัน ดอกปุ่มหูดมีก้าน รังไข่สีแดงคล้ำ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ดอกเพศเมีย ไม่มีก้าน หรือมีก้านสั้นอยู่ระหว่างดอกปุ่มหูด รังไข่ไม่มีก้าน หรือก้านสั้น มีจุดสีแดง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ยาว 2-3 มม. เกลี้ยง เมล็ด ยาวประมาณ 1 มม. รูปเลนส์ เรียบ หรือมีสันเล็กน้อย [8]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี ไปจนถึงรูปไข่กลับ รูปขอบขนานสั้น หรือรูปใบหอก กว้าง 3.5-8.5 ซม. ยาว 6-19 ซม. ปลายค่อนข้างแหลม หรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ หรือสอบกว้าง บางทีพบเป็นรูปหัวใจ ขอบเรียบ ในต้นกล้าขอบจักเป็นซี่ฟัน เนื้อค่อนข้างหนาคล้ายหนัง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อนเส้นใบมี 4-8 คู่ มีเส้นระหว่างเส้นใบถึง 7 เส้น เห็นชัดด้านล่าง มีเส้นออกจากโคนใบสั้น มักมีต่อมตามง่ามเส้นใบ ก้านใบยาว 15-70 มม. เป็นสีน้ำตาลและหยัก
 
  ดอก ดอก อยู่ในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายผลที่เรียกว่า ผลแบบมะเดื่อ (fig หรือ syconium) ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นผล fig เกิดจากฐานดอกที่บวมพองขึ้น ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับอยู่ ภายใน fig นี้มีดอก 3 ประเภทคือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหด fig นี้มีส่วนมากเกิดเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบอ่อน นึ่งกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก, หัวใต้ดิน นำไปนึ่งรับประทาน(ลั้วะ)
ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
- ราก ใบคาบสมุทรมลายู น้ำต้มใช้เป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร แก้ไข้ แก้ร้อนใน
เปลือกต้น ใบ เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด เปลือกต้น แก้ท้องเสีย แก้อาเจียน ห้ามเลือด ล้างแผล ใช้เป็นยาภายนอกและภายใน
ใบ ในอินโดนีเซีย ใช้แทนใบฝิ่น ผล ดิบ แก้เบาหวาน [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง