ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักแปม
ผักแปม
Eleutherococcus trifoliatus (L.) S.Y.Hu
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Araliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleutherococcus trifoliatus (L.) S.Y.Hu
 
  ชื่อไทย ผักแปม
 
  ชื่อท้องถิ่น ด่อกุงแครม(ปะหล่อง), ผักแปม(ลั้วะ,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง), บ่ะแปม(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ผักแปมเป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งก้านสีเขียว มีหนามกระจายอยู่ทุกส่วนของลำต้น
 
  ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือมี 5 ใบย่อย ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีและรูปไข่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายและโคนใบแหลม มีกลิ่นเฉพาะ
 
  ดอก ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม สีเขียวอมเหลือง
 
  ผล ผลรูปทรงกลม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน แกงใส่เนื้อแห้ง ปลาแห้งหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
ใบและยอดอ่อน รับประทานสดหรือนึ่งกินกับลาบ(ลั้วะ)
ใบ รับประทานกับลาบได้(ขมุ)
ยอดอ่อน ประกอบอาหารเช่น ใส่แกง หรือรับประทานกับลาบ(คนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานกับลาบหรือใช้ใส่แกง(ลั้วะ)
ใบอ่อน รับประทานกับลาบ(ลั้วะ,คนเมือง)
ใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก มีรสขม(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าเสื่อมโทรม ตามริมน้ำ มีแสงแดดส่องถึง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง