ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ระงับพิษ
ระงับพิษ
Breynia glauca Craib
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Phyllanthaceae (Euphorbiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Breynia glauca Craib
 
  ชื่อไทย ระงับพิษ
 
  ชื่อท้องถิ่น - ขางจ้ำไพร(คนเมือง) - ระงับพิษ, ดับพิษ (เชียงใหม่) จ้าสีเสียด (ลำพูน) ปริก (ประจวบคีรีขันธ์) [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 7.5 ม. ไม่มีขน, กิ่งอ่อนค่อนข้างแบน ต่อมาจะกลม
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่แกมรูปหอก โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมหรือมน ปลายสุดเป็นติ่งแข็งเล็กๆ กว้าง 1.5 – 3.0 ซม. ยาว 2.5 – 7.0 ซม. เนื้อใบหนาและแข็ง ด้านบนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล เส้นใบเล็กมาก มี 5 – 6 คู่ มองเห็นไม่ชัด ก้านใบยาว 2 – 3 มม.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบและแยกเพศ ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาวประมาณ 4 มม. กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายลูกข่าง ยาว 2 มม. เกสรผู้ 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกัน ดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้น กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2 มม. เป็น 3 เหลี่ยม ปลายแยกเป็น 6 แฉก ท่อรังไข่ 3 อัน ตั้งตรง แต่ละอันปลายแยกเป็น 2 แฉก
ผล รูปกลม แบน กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 5 มม. แก่จัดสีดำ [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่แกมรูปหอก โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมหรือมน ปลายสุดเป็นติ่งแข็งเล็กๆ กว้าง 1.5 – 3.0 ซม. ยาว 2.5 – 7.0 ซม. เนื้อใบหนาและแข็ง ด้านบนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล เส้นใบเล็กมาก มี 5 – 6 คู่ มองเห็นไม่ชัด ก้านใบยาว 2 – 3 มม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบและแยกเพศ ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาวประมาณ 4 มม. กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายลูกข่าง ยาว 2 มม. เกสรผู้ 3 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกัน ดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้น กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2 มม. เป็น 3 เหลี่ยม ปลายแยกเป็น 6 แฉก ท่อรังไข่ 3 อัน ตั้งตรง แต่ละอันปลายแยกเป็น 2 แฉก
 
  ผล ผล รูปกลม แบน กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 5 มม. แก่จัดสีดำ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการไข้ตานซาง(ตานขโมย) หรือนำไปฝนเป็นยาทารักษาโรคปากเปื่อย(คนเมือง)
- ราก ช่วยเจริญอาหาร ลำต้น รักษาโรคกระเพาะอาหาร ใบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษไข้หัว ไข้กลับ ไข้จับสั่น กระทุ้งพิษ [5]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง