ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กำลังเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง
กำลังเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง
Betula alnoides Buch.-Ham. ex G.Don
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Betulaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Betula alnoides Buch.-Ham. ex G.Don
 
  ชื่อไทย กำลังเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำแคร่(ลั้วะ), ลำแค(ลั้วะ), นางพญาเสือโคร่ง(คนเมือง), ลำคิแย(ลั้วะ), กำลังเสือโคร่ง(คนเมือง), เส่กวอเว(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ กำลังเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20-35 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเทามีกลิ่นหอมคล้ายการบูร
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปหอก หรือรูปไข่แกมหอก ขนาดใบกว้าง 1.5 - 6.5 ซม. และยาว 6.5 - 13.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนและแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ผิวใบเรียบ
 
  ดอก ช่อดอกเชิงลด ออกเป็นพวงโน้มลงตามซอกใบ 2-5 ช่อ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์
 
  ผล ผลแบนเล็กมีปีกบางโปร่งแสง 2 ข้าง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น เข้าสูตรยา บำรุงกำลัง(ลั้วะ)
ราก ต้มน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม (เกดสะดุด) เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย, เปลือกต้น ดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง(ลั้วะ)
เปลือกต้น มีกลิ่นหอม ดมแก้อาการหน้ามืดตาลาย(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เปลือกต้น นำไปตากแห้งผสมกับ ลำต้นฮ่อสะพายควาย ม้า กระทืบโรง จะค่าน ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัว ยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และโด่ไม่รู้ล้ม ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย(คนเมือง)
เปลือกต้น ถากออกเป็นแผ่นแล้วนำมาเผาไฟ นำผงถ่านที่ได้มาทาบริเวณฟันผุ แก้อาการปวดฟัน(ลั้วะ)
เปลือกต้น เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเลือด รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้เจริญอาหาร(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง