ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กระเช้าผีมด
กระเช้าผีมด
Aristolochia tagala Cham.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Aristolochiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Aristolochia tagala Cham.
 
  ชื่อไทย กระเช้าผีมด
 
  ชื่อท้องถิ่น พ่วน(ลั้วะ), ผักห่ามป่าย, ผักห่ามหนี(คนเมือง), ลำเด่อ(ลั้วะ), ผักข้าว(คนเมือง), ชั้วมัดหลัว (ม้ง), บ่ะหูกว๋าง(ลั้วะ), คอหมู่เด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้เลื้อยที่มีลำต้นเป็นเถา ลักษณะลำเถาเรียบไม่มีขน พื้นผิวเป็นร่องไปตามยาวของลำเถา
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ โคนใบเว้าหยักลึกเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม พื้นผิวและริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 – 10 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ช่อหนึ่งมี 1 – 2 ดอก ดอกมีลักษณะขนาดเล็ก กลีบดอกมีอยู่ชั้นเดียว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดท่อโค้ง ปากท่อเบี้ยวและยื่นยาวออกมาข้างหนึ่งซึ่งยาวเท่ากับท่อดอก ส่วนปลายมนมีขนเล็กน้อย ขนาดดอกยาวประมาณ 2 – 2.5 นิ้ว ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนาน ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกออกบริเวณง่ามใบ
ผล ผลมีรูปลักษณะเป็นรูปกระเช้า เมื่อผลแก่เต็มที่จะแยกออกจากกันเป็นซีก 6 ซีก และก้านผลก็จะแยกออกเป็น 6 เส้น ยาวประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ข้างในซีกที่แยกออกก็จะมีเมล็ด มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้าง 0.5 – 1 ซม. พื้นผิวเมล็ดด้านหนึ่งจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ[1]
 
  ใบ ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ โคนใบเว้าหยักลึกเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม พื้นผิวและริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 – 10 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ว
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ช่อหนึ่งมี 1 – 2 ดอก ดอกมีลักษณะขนาดเล็ก กลีบดอกมีอยู่ชั้นเดียว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดท่อโค้ง ปากท่อเบี้ยวและยื่นยาวออกมาข้างหนึ่งซึ่งยาวเท่ากับท่อดอก ส่วนปลายมนมีขนเล็กน้อย ขนาดดอกยาวประมาณ 2 – 2.5 นิ้ว ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนาน ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกออกบริเวณง่ามใบ
 
  ผล ผล ผลมีรูปลักษณะเป็นรูปกระเช้า เมื่อผลแก่เต็มที่จะแยกออกจากกันเป็นซีก 6 ซีก และก้านผลก็จะแยกออกเป็น 6 เส้น ยาวประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ข้างในซีกที่แยกออกก็จะมีเมล็ด มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้าง 0.5 – 1 ซม. พื้นผิวเมล็ดด้านหนึ่งจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุกรับประทานได้, ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ยอดอ่อน แกงหรือนึ่งรับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือนำไปลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
- เปลือกต้น ลอกออกแล้วใช้เส้นใยสานสวิงได้เหมือนเส้นใยเพียด(ลั้วะ)
- ลำต้น นำมาต้มให้เด็กที่มีอาการไม่สบายอาบ(คนเมือง)
ใบ ต้มน้ำดื่มบรรเทาอาการปวดเอวหรืออาจทุบแล้วใช้ประคบเอวก็ได้(ม้ง)
- ลำต้น นำมาต้มแล้วใช้น้ำกิน เป็นยาทำให้ธาตุปกติ
ใบ นำมาเผาให้ร้อนแล้วให้เอาวางนาบไว้ตามแขนหรือบนหน้าท้อง ใช้แก้อาการปวดบวมได้เมื่อนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปพอกภายนอก แก้โรคผิวหนัง ลดไข้[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง