ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา โลด, เหมือดตบ, เหมือด, เหมือดโลด
โลด, เหมือดตบ, เหมือด, เหมือดโลด
Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.
 
  ชื่อไทย โลด, เหมือดตบ, เหมือด, เหมือดโลด
 
  ชื่อท้องถิ่น -
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น, 8 – 10 ม., ตามยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง, เปลือกหนา, แตกเป็นร่องลึกตามยาว.
ใบ รูปขอบขนาน, ขอบขนานป้อม ๆ , จนถึงรูปรีแกมรูปไข่กลับ, กว้าง 6 – 10 ซม., ยาว 10 – 16 ซม.; ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งทู่ ๆ ; ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย; โคนใบมนหรือแหลม; เนื้อใบค่อนข้างหนา, ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย, ตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีขน, ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง; ก้านใบยาว 1. 2 – 2.2 ซม., มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ เล็ก, ออกชิดกันเป็นแท่ง, ยาว 2 – 4 ซม., จำนวนหลายช่ออยู่ด้วยกัน, มีใบประดับรูปไข่ป้อม, ปลายแหลม, ด้านนอกและขอบมีขน; กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 3 – 6 กลีบ, ไม่มีกลีบดอก; เกสรผู้มี 2 อัน, อับเรณูแตกตามยาว. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อเช่นเดียวกับดอกเพศผู้, แต่สั้นกว่ามาก, ส่วนใหญ่จะออกเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ; รังไข่มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง, ภายในมี 1 ช่อง, มีไข่อ่อน 2 หน่วย, ท่อรังไข่แยกเป็น 2 แฉก.
ผล รูปไข่, ปลายมีติ่งแหลม, มีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น, สีส้ม, กว้างประมาณ 7 มม., ยาว 10 มม., มี 1 เมล็ด, อีก 1 เมล็ดฝ่อ. [6]
 
  ใบ ใบ รูปขอบขนาน, ขอบขนานป้อม ๆ , จนถึงรูปรีแกมรูปไข่กลับ, กว้าง 6 – 10 ซม., ยาว 10 – 16 ซม.; ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งทู่ ๆ ; ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย; โคนใบมนหรือแหลม; เนื้อใบค่อนข้างหนา, ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย, ตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีขน, ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง; ก้านใบยาว 1. 2 – 2.2 ซม., มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ เล็ก, ออกชิดกันเป็นแท่ง, ยาว 2 – 4 ซม., จำนวนหลายช่ออยู่ด้วยกัน, มีใบประดับรูปไข่ป้อม, ปลายแหลม, ด้านนอกและขอบมีขน; กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 3 – 6 กลีบ, ไม่มีกลีบดอก; เกสรผู้มี 2 อัน, อับเรณูแตกตามยาว. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อเช่นเดียวกับดอกเพศผู้, แต่สั้นกว่ามาก, ส่วนใหญ่จะออกเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ; รังไข่มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง, ภายในมี 1 ช่อง, มีไข่อ่อน 2 หน่วย, ท่อรังไข่แยกเป็น 2 แฉก.
 
  ผล ผล รูปไข่, ปลายมีติ่งแหลม, มีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น, สีส้ม, กว้างประมาณ 7 มม., ยาว 10 มม., มี 1 เมล็ด, อีก 1 เมล็ดฝ่อ.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เนื้อหุ้มเมล็ดของผลสุก รับประทานได้(กะเหรี่ยงแดง)
ผล รับประทานได้(กะเหรี่ยง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำด้ามค้อน(คนเมือง)
เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านหรือที่พักอาศัยถาวร(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เนื้อไม้ ใช้ทำสากครกตำข้าว (ลั้วะ)
- เนื้อไม้ ใช้ทำที่คนข้าว ที่นึ่งข้าว เพราะเชื่อว่าเนื้อไม้เป็นยา แก้พิษ(คนเมือง)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ขมุ,คนเมือง,กะเหรี่ยงแดง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง