ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กระดูกไก่ดำ
กระดูกไก่ดำ
Gendarussa vulgaris Nees.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ ACANTHACEAE
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gendarussa vulgaris Nees.
 
  ชื่อไทย กระดูกไก่ดำ
 
  ชื่อท้องถิ่น เฉียงพร้าบ้าน เฉียงพร้ามอญ ผีมอญ สันพร้ามอญเฉียงพร้าม่าน เกียงพา สำมะงาจีน(ภาคกลาง) เฉียงพร้า(สุราษฎร์ธานี)กระดูกดำ (จันทบุรี) ปองดำ(ตราด) กุลาดำ บัวลาดำ(ภาคเหนือ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพรรณไม้พุ่มเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 90-100 ซม.
 
  ใบ เป็นรูปหอกโคนและปลายแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยักเส้นกลางใบสีแดงขนาดใบกว้าง 0.5-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ก้านใบสั้น
 
  ดอก เป็นช่อบริเวณปลายดอก ช่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ลักษณะของดอกกลีบดอกมีสีขาวอมเขียว แกมชมพู โคนกลีบดอกติดกันส่วนปลายกลีบแยกเป็นกลีบล่างบน ลักษณะกลีบล่างโค้งงอนเหมือนช้อนข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 2 อัน ซึ่งจะโผล่พ้นหลอดออกมา
 
  ผล ผลของกระดูกไก่ดำมีลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 1.3-1.5 ซม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ นำใบสดกระดูกไก่ดำมาตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน ขับปัสสาวะบวมตามข้อ กากของใบนำมาพอกแผลที่พิษอสรพิษขบกัด ใบนำมาต้มและดื่ม แก้ช้ำแก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย
- รากและใบ ตำรากและใบของกระดูกไก่ดำผสมกันแล้วนำมาพอกแผล ถอนพิษ นำมาต้มใช้อาบน้ำแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นเองตามลำธารในป่าดงดิบหรือมักปลูกตามบ้าน ใช้ทำรั้ว ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง