|
วงศ์ |
Acanthaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. ex Nees |
|
|
ชื่อไทย |
ฟ้าทะลายโจร |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ฟ้าทะลายโจร(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมยาวและเรียว
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน มีสีเขียว
ดอก : ออกดอกเดี่ยว อยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของดอกเป็นรูป 2 ปาก มีสีชมพูอ่อน ๆ
ผล เป็นฝัก และเมื่อผลแก่เต็มที่แล้วก็จะแตกออก ซึ่งทำให้เรามองเห็นเมล็ดวางอยู่ในผลได้ชัด[1] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน มีสีเขียว
|
|
|
ดอก |
ดอก : ออกดอกเดี่ยว อยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของดอกเป็นรูป 2 ปาก มีสีชมพูอ่อน ๆ
|
|
|
ผล |
ผล เป็นฝัก และเมื่อผลแก่เต็มที่แล้วก็จะแตกออก ซึ่งทำให้เรามองเห็นเมล็ดวางอยู่ในผลได้ชัด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ใช้ปนกับเพลี้ยใส่ลาบเพื่อเพิ่มความขมก็ได้(คนเมือง)
- ใบ นำมาเคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่มแก้อาการเจ็บคอ(คนเมือง)
- ทั้งต้น นำมาตากแห้ง ใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ บำบัดโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารและมาลาเรีย ยาขมบำรุงกำลัง และเป็นยาขับน้ำเหลือง สิ่งสกัดของพืชชนิดนี้จะมีขายอยู่ในประเทศอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ใบ ในใบจะมีสารประกอบที่มีรสขมละลายน้ำได้อยู่ ซึ่งชาวอินเดียจะนำใบมาคั้นเอาน้ำผสมกับเครื่องเทศ เช่น พวกกระวาน อบเชย กานพลู ฯลฯ แล้วนำมาปั้นเป็นเมล็ดกลม ๆ เป็นยารักษาโรคที่มีอาการผิดปกติทางเดินอาหารในเด็ก เป็นยาดองเหล้า (Tincture) และยาชง (Infusion)[1] |
|
|
อ้างอิง |
- |
|
|
สภาพนิเวศ |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
เอกสารประกอบ |
|